ผลของโปรแกรมการแนะแนวที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต

Titleผลของโปรแกรมการแนะแนวที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2563
Authorsเจษฎา บุญมาโฮม, JESADA BOONMAHOME, นพวรรณ คนึงชัยสกุล, NOPPAWAN KANEUNGCHAISAKUL, อรพิณ พัฒนผล, ORAPIN PATTANAPHON
Volume11
Start Page76
Issue1
Keywordsemotional intelligence, guidance program, resilience, ความฉลาดทางอารมณ์, ความแข็งแกร่งในชีวิต, โปรแกรมการแนะแนว
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์และความแข็งแกร่งในชีวิตก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการแนะแนว และเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์และความแข็งแกร่งในชีวิตระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการแนะแนว แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ และแบบวัดความแข็งแกร่งในชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมการแนะแนวมีความฉลาดทางอารมณ์และความแข็งแกร่งในชีวิตหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความฉลาดทางอารมณ์และความแข็งแกร่งในชีวิตของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
The purposes of this research were to: compare the emotional intelligence and resilience before and after participating in a guidance program; and compare the emotional intelligence and resilience of the experimental and control group. The research sample was 30 undergraduate students in education studying at Nakhon Pathom Rajabhat University, derived by simple random sampling. The sample was divided into 2 groups: 15 participants in experimental and control groups. The research instruments included a guidance program, an emotional intelligence test, and a resilience test. The statistics used in the research were mean, standard deviation, and the t–test. The results of the study were as follows:
The students’ emotional intelligence and resilience after participating in the guidance program was higher than that of before with statistical significance at .05. Additionally, the emotional intelligence and resilience of the experimental group was higher than that of the control group with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/11.1jssr5.pdf
File attachments: