การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริโภควัยเยาว์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Titleการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้บริโภควัยเยาว์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2563
Authorsพัชรินทร์ ศตพรไกรวัฒน์, PHATCHARIN SATAPORNKRAIWAT, นันท์นภัส นิยมทรัพย์, NANNABHAT NIYOMSAP, นภาภรณ์ ยอดสิน, NAPAPORN YODSIN
Volume11
Issue1
Keywordscritical thinking, storyline learning management, young consumer, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์, ผู้บริโภควัยเยาว์
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้บริโภควัยเยาว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทพวิทยา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์มี คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ABSTRACT
The research aimed to: 1) compare the critical thinking ability for young consumers of grade 6 students before and after learning by using storyline learning management; and 2) study the satisfaction of grade 6 students towards storyline learning management. The sample, derived by cluster random sampling, was 30 grade 6 students of Thepwittaya School, Ban Pong District, Ratchaburi Province. The research instruments were 1) the storyline learning management plans, 2) a critical thinking ability test, and 3) a satisfaction questionnaire on storyline learning management. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and t-test.
The results showed that: 1) the students’ critical thinking ability after learning by using storyline learning management was higher than that of before with statistical significance at.05 level; and 2) the grade 6 students’ satisfaction towards storyline learning management was at the highest level.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/11.1jssr8.pdf
File attachments: