แนวทางการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

Titleแนวทางการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsประพนธ์ เล็กสุมา, PRAPON LEKSUMA
Secondary Authorsชนิดา เสียงเพราะ, CHANIDA SEANGPROA, น้ำผึ้ง เพ่งผล, NAMPHUNG PENGPON, จิราภรณ์ คงมาก, JIRAPORN KONGMAK, ปริตา งามพริ้งศรี, PARITA NGAMPRINGSRI
Volume9
Issue2
Keywordscommunity-based tourism, floating market, recovery, การฟื้นฟู, ตลาดน้ำ, แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก และ3) สังเคราะห์แนวทางการฟื้นฟูตลาดเหล่าตั๊กลัก โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวตลาดน้ำเหล่าตั๊กลักด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลักและกลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวนทั้งหมด 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังตลาดน้ำเหล่าตั๊กลักด้วยแบบสอบถามจำนวน 124 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น
ผลการวิจัยพบว่า 1) ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลักเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของจังหวัดราชบุรี เป็นตลาดน้ำเก่าที่มีอายุยาวนานมามากกว่า 100 ปี ชุมชนมีความโดดเด่นในเรื่องของวิถีชีวิตริมน้ำแบบจีน 2) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในด้านความเป็นเอกลักษณ์ของอาคารบ้านเรือน กิจกรรมการท่องเที่ยว การเข้าถึง การบริการแก่นักท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก และบุคลากรทางท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวตลาดน้ำเหล่าตั๊กลักประกอบด้วย 1) การฟื้นฟูเชิงพื้นที่ เป็นการฟื้นฟูด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 2) การฟื้นฟูเชิงออกแบบ เป็นการฟื้นฟูด้านการบริการการท่องเที่ยว และกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว และ 3) การฟื้นฟูเชิงเศรษฐกิจและสังคม เป็นการฟื้นฟูด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว และด้านบุคลากร

ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the context of Lao Tuk Luk Floating Market area; 2) study the tourist satisfaction toward Lao Tuk Luk Floating Market; and 3) synthesize the recovery guidelines of community-based tourism in Lao Tuk Luk Floating Market. Mixed method was used in this study. For qualitative research, data were collected from stakeholders in the Lao Tuk Luk Floating Market. The in-depth interview was done with 4 target groups. They were 1) community leaders, 2) shop operators, 3) local people in Lao Tuk Luk Floating Market, and 4) tourists, totaling 32 people. The qualitative data were analyzed by content analysis. For the quantitative research, data were collected from 124 tourists of Lao Tuk Luk Floating Market and analyzed by basic statistics.
The research revealed that 1) Lao Tuk Luk Floating Market was the first floating market in Ratchaburi Province, and was older than 100 years. The community was unique in terms of Chinese waterfront lifestyle. 2) The tourists were satisfied with the uniqueness of housing, tourism activities, accessibility, services for tourists, facilities and tourism staff at a high level. 3) The recovery guidelines for community-based tourism in Lao Tuk Luk Floating Market comprised 3 aspects. These were: 1) area revitalization in terms of facilities and accessibility to the attraction; 2) design revitalization in tourism services and activities; and 3) economic and social revitalization in term of tourism attraction and staff.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr5.pdf