การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน ประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดสมุทรสาคร

Titleการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน ประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดสมุทรสาคร
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsเย็นจิตร ทิพมาตร, YENJIT TIPPAMATR
Secondary Authorsนภาเดช บุญเชิดชู, NAPADECH BOONCHERCHOO
Tertiary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Volume9
Issue2
Keywordsconflict management, government school, school climate, การจัดการความขัดแย้ง, บรรยากาศโรงเรียน, โรงเรียนของรัฐ
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดสมุทรสาคร 2) ระดับบรรยากาศของโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดสมุทรสาคร และ 3) ศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 317 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหา ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ด้านการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.95 และด้านบรรยากาศของโรงเรียน เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้าน ซึ่งอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย การร่วมมือกันแก้ปัญหา การประนีประนอมและการยอมให้ ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย การหลีกเลี่ยงและการแข่งขัน
2. บรรยากาศของโรงเรียนอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย โครงสร้างองค์การ ความรับผิดชอบ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การสนับสนุน มาตรฐานการปฏิบัติงาน ความเสี่ยงภัย การให้รางวัล ความอบอุ่นและความขัดแย้ง
3. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย การร่วมมือกันแก้ปัญหา (X2) การยอมให้ (X5) และการแข่งขัน (X1) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับบรรยากาศของโรงเรียน (Ytot) โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 38.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ = 2.27+ 0.19 (X2) + 0.36 (X5) - 0.08 (X1)

ABSTRACT
This research aimed to study: 1) the level of conflict management of school administrator; 2) the level of the school climate; and 3) conflict management of school administrator affecting school climate of the government primary schools in Samut Sakhon province. The research sample was 317 teachers of government primary schools in Samut Sakhon province, derived by proportional stratified random sampling as distributed by district places. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher with IOC content validity between 0.67 and 1.00. The internal consistency reliability coefficients of the questionnaire 0.95 for roles of administrator and 0.96 for school effectiveness. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the conflict management of school administrator was at a high level and a medium level. These aspects were as follows: collaboration, compromising, and accommodation. A medium level: these aspects were as follows: avoiding, and competition.
2. Overall and in specific aspects, the school climate was at a high level. These aspects were as follows: structure, responsibility, identity, supporting, standard setting, risk taking, reward, warmth, and conflict.
3. The conflict management of school administrator in the aspect of collaboration (X2), accommodation (X5), and competition (X5) together predicted the school climate of government primary school in Samut Sakhon province (Ytot) at the percentage of 38.10 with statistical significance at .05. The regression equations was = 2.27 + 0.19 (X2) + 0.36 (X5) - 0.08 (X1).

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr11.pdf