การเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์

Titleการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsศิริวรรณ ริ้วสุขสันต์, SIRIWAN REAOSUKSAN
Secondary Authorsณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, NATTAWAT SUTTIYOTHIN
Tertiary Authorsไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, PAIBOON KACHENTARAPHAN
Volume10
Issue1
KeywordsDhamma program, exposure, online media, use and gratifications, การเปิดรับ, การใช้ประโยชน์, ความพึงพอใจ, รายการธรรมะ, สื่อออนไลน์
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่อช่องทางการสื่อสารออนไลน์ เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึก รายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์ของผู้ชมรายการ 2) การได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ 3) การนำความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ 4) ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับการได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อช่องทางการสื่อสาร ความพึงพอใจต่อเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึก รายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์กับการนำความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ชมรายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์ จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มเชิงระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามและการสำรวจทางออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับชมรายการธรรมปทีป สัปดาห์ละครั้ง ในช่วงเวลา 12.01-18.00 น. เปิดรับชม เพียงอย่างเดียวอย่างตั้งใจ ชมที่บ้าน/ที่พัก ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ชมมีความพึงพอใจต่อช่องทางสื่อออนไลน์ เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึก ในระดับมาก โดยพึงพอใจวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึก เป็นลำดับแรก 2) ผู้ชมได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำไปใช้ พัฒนาตนเองได้ในระดับมาก 3) ผู้ชมรายการนำความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองในระดับมาก 4) ลักษณะประชากรที่แตกต่างกันและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกันได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเองได้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความพึงพอใจต่อช่องทางการสื่อสาร ความพึงพอใจต่อเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึกของรายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการนำความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
The objectives of this research were to study: 1) the media exposure behavior of the audience and their satisfaction with online communication channel, content, presentation format, and delivery method of Phra Thammakateuk of Wat Yannawa’s Dhammabateep Program; 2) the extent to which viewers learned Buddhist teachings from the program that they could apply for self-development; 3) the extent to which they utilized that knowledge for self-development; 4) the relationship between demographic factors and media exposure behavior with learning of Buddhist teachings from the program that viewers could apply for self- development; and 5) the relationship between the viewers’ satisfaction towards online communication channel, content, presentation format, and delivery method of Phra Thammakateuk with their application of learning of Buddhist teachings for self-development.
This study was a survey research. The sample was 400 audience who watched Wat Yannawa’s Dhammabateep Program online. The sample was derived by systematic random sampling. Data were collected using a questionnaire and an online survey. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, chi square, t-test, ANOVA and Pearson’s correlated coefficient.
The results showed that: 1) most of the sample watched the Dhammabateep program online once a week during the time period 12:01-18:00. They paid fully attention to the program and didn’t do anything while watching. They normally watched at home or residence for one hour at a time. The viewers were satisfied with the online communication channel, content, presentation format, and delivery method of Phra Thammakateuk at a high level. The viewers were satisfied with Phra Thammakateuk’s delivery method with the highest average. 2) The viewers learned Buddhist teachings from the program that they could apply for self-development at a high level. 3) The viewers reported utilized the knowledge they learned from the program for self-development at a high level. 4) The differences in demographic factors and media exposure behavior were related to differences in extent of learning Buddhist teachings that viewers could apply for self-development with a statistically significant level at .05. 5) The viewers’ satisfaction with the online communication channel, content, presentation format, and delivery method of Phra Thammakateuk were related to the extent to which the viewers’ their applied learning of Buddhist teachings for self-development with a statistically significant level at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.1jss13.pdf