การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยสำหรับอาหารกลางวันของโรงเรียนขนาดเล็กตามโครงการ 9 บวร

Titleการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยสำหรับอาหารกลางวันของโรงเรียนขนาดเล็กตามโครงการ 9 บวร
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsสุมิตร สุวรรณ, SUMIT SUWAN
Secondary Authorsวิทัศน์ ฝักเจริญผล, WITAT FAKCHAROENPHOL
Tertiary Authorsอภิเดช ช่างชัย, APIDET CHANGCHAI
Volume10
Issue1
Keywordsgrowing safe vegetable, small-sized school, การปลูกผักปลอดภัย, โรงเรียนขนาดเล็ก
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาพื้นที่และทดลองปลูกพืชผักปลอดภัย สำหรับอาหารกลางวันของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 2) เสนอความรู้ความเข้าใจให้กับครูและนักเรียนในการปลูกผักปลอดภัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 6 โรงเรียน ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ โรงเรียนวัดทุ่งกระพังโหม โรงเรียนบ้านดอนซาก โรงเรียนวัดไร่แตงทอง โรงเรียนบ้านอ้อกระทุง โรงเรียนวัดหนองจิก และโรงเรียนวัดห้วยผักชี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปลูกปลอดภัยที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น มีค่าความตรงด้านเนื้อหา ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการปลูกผักปลอดภัยของแต่ละโรงเรียน รวมทั้ง การประชุมสัมมนาเพื่อสรุปบทเรียนและสะท้อนผลการดำเนินโครงการ ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนขนาดเล็กที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 โรงเรียน มีพื้นที่หรือแปลงสำหรับการปลูกผัก จำนวน 5 โรงเรียน ยกเว้นโรงเรียนวัดไร่แตงทอง ซึ่งครู นักเรียน และนักการ ได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แปลงปลูกผักโดยการดายหญ้า ขุดดิน ซื้อดินและปุ๋ยคอกมาใส่ รวมทั้งมีการจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม ได้แก่ จอบ เสียม บัวรดน้ำ หลังจากนั้นทำการปลูกผักระยะสั้นที่สามารถนำมาเป็นอาหารกลางวันได้เร็ว ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง บางโรงเรียนมีการเลี้ยงปลาดุกและไก่ไข่เพิ่มเติม ผลการดำเนินการปลูกผัก ปรากฏว่า ผักที่ปลูกเจริญงอกงามดี สามารถนำมาทำเป็นอาหารในโครงการอาหารกลางวันได้ ส่วนที่เหลือนำไปขายให้ร้านค้าในชุมชนและแบ่งปันให้เด็กนักเรียนนำกลับไปฝากผู้ปกครอง แต่มีบางโรงเรียนที่ปลูกผักใต้ต้นไม้ใหญ่ ทำให้ผักที่ปลูกมีลักษณะลำต้นเล็ก แคระแกรน ไม่ค่อยเจริญงอกงาม ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันจึงได้ทำแปลงผักใหม่โดยไปปลูกในสถานที่ที่มีแสงแดด 2) การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักปลอดภัยให้กับครูและนักเรียน ได้ดำเนินการในระหว่างการติดตามผลโดยการให้คำแนะนำสิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรค และทำเป็นเอกสารความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัย จำนวน 13 เรื่อง เรื่องละ 1 หน้ากระดาษ เพื่อให้สามารถอ่านได้ง่ายและเหมาะสมกับนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กนักเรียนและครู

ABSTRACT
The objectives of this research were to: 1) develop the area and experimentally grow safe vegetables for school lunch in small-sized schools; and 2) provide the knowledge and understanding to teachers and students in growing safe vegetables by using action research. The target group was teachers and students in 6 small schools in Kamphaeng Saen Districts, Nakhon Pathom Province. The 6 schools included Wat Thungkrapanghom School, Ban Don Sark School, Wat Raitaengthong School, Ban Orkrathung School, Wat Nhongjik School, and Wat Hauypugchee School. The research instruments consisted of an interviewing form, an observational form, and information sheets on growing safe vegetables made by the researchers with content validity between 0.67 and 1.00. The data were collected by observing and interviewing all relevant parties who grew safe vegetables at each school. The seminar was also conducted to conclude and reflect the project implementation. Data were checked and analyzed by using content analysis.
The research results revealed that: 1) 5 in 6 small schools in the project have already had area or agriculture patches for growing vegetables, except Wat Raitaengthong School. In this school, teachers, students, and janitors helped to develop area by cutting grass, plowing, and mixing soil with natural fertilizer. They also provided more agricultural equipment such as hoes, shovels, and watering cans. The fast-growing vegetables such as water spinach, Chinese kale, and choy sum were grown for school lunch. Some schools also raised catfish and egg-laying chickens. The results showed that the vegetables grew well and could be used for school lunch. The surplus was sold to local market in the community and gave to students to bring home. However, in some schools, the patches were under big trees, so the vegetables did not growing well or had stunted growth. The teachers and students noticed the problem and together solved it by moving the plots to sunlighted area. 2) The knowledge and understanding of growing safe vegetables were provided to teachers and students during the follow-up process of the project by giving suggestions for problems. The information sheets of safe vegetable growing in 13 topics was created, 1 page per topic. The content was made simple and suitable for elementary students to develop knowledge and understanding for students and teachers.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.1jss16.pdf