ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Titleปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsกฤษณีย์ โหมดทอง, KRITSANEE MODTHONG
Secondary Authorsประสงค์ ตันพิชัย, PRASONG TANPICHAI
Tertiary Authorsระวี สัจจโสภณ, RAVEE SAJJASOPORN
Volume10
Issue2
Keywordsadversity quotient, Kasetsart University Kampheang Saen Campus, การเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิต และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการเผชิญและการฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 5,376 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 411 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน เพื่อทำนายตัวแปรความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิต พบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X1) ด้านความภาคภูมิใจในตนเอง (X4) และบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ (X7) สามารถทำนายความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิต ได้ร้อยละ 77.70 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) = 0.881 และสามารถเขียนสมการในรูปแบบคะแนนดิบได้ ดังนี้
Ŷ = 1.1.25 + 0.354X1 + 0.164X4 + 0.124X7

ABSTRACT
The purposes of this research were to study: 1) the level of students’ adversity quotient; 2) the factors affecting adversity quotient of undergraduate students in Kasetsart University Kampheang Saen Campus, Nakhon Pathom Province. The research population was 5,376 undergraduate students studying in year 1 to year 4 in academic year 2018. The cluster random sampling was used to select the sample of 411 students. The instrument for data collection was a questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis to predict factors affecting adversity quotient.
The results revealed that: 1) the adversity quotient of undergraduate students was at a high level; and 2) regarding factors affecting students’ adversity quotient were motivation (X1), self-esteem (X4), and openness to experience (X7). The three aspects could predict the adversity quotient of undergraduate students at the percentage of 77.70; and the multiple correlation coefficient (R) was 0.881. The equation was as follows:
Ŷ = 1.1.25 + 0.354X1 + 0.164X4 + 0.124X7

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.2jssr2.pdf