การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาและเทคนิคจิกซอว์ในรายวิชางานประกอบอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Titleการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาและเทคนิคจิกซอว์ในรายวิชางานประกอบอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsอัญชลี แสงทอง, ANCHALEE SANGTHONG
Secondary Authorsนันท์นภัส นิยมทรัพย์, NANNABHAT NIYOMSAP
Tertiary Authorsจินตนา ศิริธัญญารัตน์, CHINTANA SIRITHANYARAT
Volume10
Issue2
Keywordsjigsaw technique, process of problem solving, psychomotor skill, กระบวนการแก้ปัญหา, ทักษะปฏิบัติ, เทคนิคจิกซอว์
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาและเทคนิคจิกซอว์ในรายวิชางานประกอบอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติการแก้ปัญหาในรายวิชางานประกอบอาหารโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาและเทคนิคจิกซอว์หลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหา และ 3) แบบประเมินภาคปฏิบัติการแก้ปัญหาในงานประกอบอาหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาและเทคนิคจิกซอว์ในรายวิชางานประกอบอาหารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) การปฏิบัติการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาและเทคนิคจิกซอว์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
The research aimed to: 1) compare the problem solving process of eleventh-grade students before and after learning by using psychomotor skills learning management with the problem solving process and jigsaw technique in culinary arts; and 2) compare the problem solving practice of eleventh-grade students after learning by using psychomotor skills learning management with problem solving process and jigsaw technique in culinary arts with set criteria. The sample group consisted of 18 eleventh-grade students at Rachineeburana School, Mueang District, Nakhon Pathom Province, derived by simple random sampling. The research instruments were: 1) lesson plans, 2) an ability test on problem solving process, and 3) an evaluation form about problem solving practice in culinary arts. Data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test.
The results showed that: 1) the students’ problem solving process after learning by using psychomotor skills learning management with problem solving process and jigsaw technique in culinary arts was higher than that of before with statistical significance at .05; 2) the student’s problem solving practice in culinary arts after learning by using psychomotor skills learning management with problem solving process and jigsaw technique was higher than the set criteria of 80 % with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.2jssr8%281%29.pdf