ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

Titleปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2563
Authorsสุภา เข็มแข็งปรีชานนท์, SUPA KHEMKHANGPREECHANON, ระวี สัจจโสภณ, RAVEE SAJJASOPORN, ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ, SUPHARUK ATICOMSUWAN
Volume11
Issue1
Keywordsachievement, Office of the Permanent Secretary for Interior, work-life balance, ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน, สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสมดุลระดับปัจจัยระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ บุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 261 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการเก็บรวบรวบข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนเพื่อทำนายตัวแปรความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าปัจจัยที่อยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของการทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านภาระงานที่มีดุลยภาพ ด้านการสนับสนุนจากองค์กร อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการเติบโตและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พบว่า ปัจจัยองค์กรด้านการสนับสนุนจากองค์กร (X6) ด้านความมั่นคงในการทำงาน (X7) ด้านภาระงานที่มีดุลยภาพ (X9) และด้านตำแหน่งหน้าที่การงาน (X4) สามารถทำนายความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรได้ร้อยละ 54.3 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) = .737 และสามารถเขียนสมการในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้
Ŷ = 1.089 + .274(X7) + .224(X6) + .237(X9) + .402(X4)

ABSTRACT
The purpose of this research were to study: 1) the work-life balance of the Office of the Permanent Secretary for Interior’s staff; 2) the level of factors affecting work-life balance of the Office of the Permanent Secretary for Interior’s staff; and 3) the factors affecting work-life balance of the Office of the Permanent Secretary for Interior staff. The sample consisted of 261 staffs of the Office of the Permanent Secretary for Interior derived by stratified random sampling. The research instruments for data collection were questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis to predict factors affecting work-life balance.
The Findings were as follows:
1. Overall, the work-life balance of the staff was at a high level.
2. Overall, the level of factors affecting work-life balance of was at a high level. When considering each aspect, the factors with a high level, in the descending order, were work environment, work security, balanced workload, and support from the organization. The aspect of growth and career progression was at an average level.
3. The aspects of support from the organization (X6), work security (X7), balanced workload (X9), and position of director (X4) predicted the work-life balance at the percentage of 54.3 with correlation coefficient of .737. The prediction equation in raw score was:
Ŷ = 1.089 + .274(X7) + .224(X6) + .237(X9) + .402(X4).

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/11.1jssr10.pdf
File attachments: