รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Titleรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2564
Authorsจันทร์เพ็ญ สุวรรณคร, Janpen S
Volume12
Issue1
Pagination73-94
Keywordscounseling innovation creation, creative problem-solving, model of guidance activity, การสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษา, การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว และ 3) ขยายผลรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนดอนคาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 37 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ทำการทดลองรวม 20 ชั่วโมง ใช้แผนการทดลองที่มีกลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียวโดยมีการวัดค่าตัวแปรตามก่อนและหลังการทดลอง และศึกษาพัฒนาการ 3 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดกิจกรรม คู่มือการใช้หน่วยและแผนการจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษา แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมนำเสนอผลงาน “นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา” และแบบบันทึกสะท้อนผลการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว มีชื่อว่า “PECCAP” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นเองอย่างเป็นระบบในรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว โดยการบูรณาการ 5 รูปแบบการสอนเข้าด้วยกัน คือ (1) การเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว (2) การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (3) การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน (4) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5) การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ภายใต้หลักการจัดกิจกรรมแนะแนว ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและวัฒนธรรมในสังคม และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษา 3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 6 ขั้นตอน PECCAP ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมผู้เรียน (P) ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหาข้อมูลตั้งสมมติฐาน (E) ขั้นที่ 3 รวบรวม วิเคราะห์และอภิปรายผลข้อมูล (C) ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์แนวคิดใหม่ (C) ขั้นที่ 5 ซักถามเพื่อสร้างทางเลือกหรือวิธีแก้ปัญหา (A) และ ขั้นที่ 6 นำเสนอและสรุปผลการประเมิน (P) 4) การวัดและประเมินผล วัดและประเมินผลความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษา 8 ด้าน 14 ตัวชี้วัด และ 5) ปัจจัยสนับสนุน ประกอบด้วย (1) บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือจัดกิจกรรม จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ร่วมประเมินผลการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษา และผลงานที่ผู้เรียนนำเสนอตามสภาพจริง และ (2) นักเรียน หมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ บันทึกผลการให้คำปรึกษาและจัดทำรายงานเสนอผู้เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระบบภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ผลการหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบ ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 85.23/86.01
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวมีดังนี้ 2.1) หลังร่วมกิจกรรมแนะแนวตามรูปแบบนักเรียนมีผลการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษาสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมแนะแนวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) หลังร่วมกิจกรรมแนะแนวตามรูปแบบนักเรียนมีพัฒนาการการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในระดับมาก 2.3) หลังร่วมกิจกรรมแนะแนวตามรูปแบบนักเรียนมีพัฒนาการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษาในระดับมาก
3. ผลการขยายผลรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว พบว่า นักเรียนกลุ่มขยายผลที่เรียนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมทางการให้คำปรึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) develop and determine the efficiency of model of guidance activity; 2) evaluate the effectiveness of model of guidance activity; and 3) disseminate the model of guidance activity. The sample were 37 students in 7th – 9th grade who was studying in the second semester of the academic year 2019 at Donkhawittaya School under the Office of the Secondary Educational Service Area 9, derived by purposive sampling. A total of 20 hours of experiments were performed using the one group pretest-posttest design and the 3 phase development studies. The research instruments consisted of a model of guidance activity, a unit manual and an activity plan, a group behavior observation form, an evaluation form for creative problem-solving and counseling innovation ability, a work skill assessment form for those relating to organizing “Youth Counselor Students” presentation activity; and a reflecting journal of guidance activities. The data was analyzed with mean, standard deviation, dependent t-test, and content analysis.
The research results showed that:
1. The model of guidance activity, named “PECCAP”, consists of 5 components. These are: 1) Principles. It should focus on students to create their own knowledge systematically through the form of guidance activities, by integrating 5 teaching models: (1) guidance activity learning, (2) activity-based learning, (3) case-based learning, (4) problem-based learning, and (5) inquiry-based learning, which are under the principle of guidance activities, constructivism theory, humanism theory, Piaget's theory of cognitive development, and cooperative learning. 2) Objectives. The objective is to enhance creative problem solving and counseling innovation ability. 3) Learning process. There are 6 steps of activity, PECCAP: (1) preparing students (P), (2) exploring and searching for hypothetical data (E), (3) collecting, analyzing and discussing the data (C), (4) creating a new concept (C), (5) asking questions to create alternatives or solutions (A), and (6) presenting and summarizing the evaluation results (P). 4) Assessment and evaluation. The assessment and evaluation are conducted in 8 aspects of creative problem-solving and counseling innovation ability with 14 indicators. 5) Supporting factors. The supporting factors are (1) personnel who are related and give cooperation in activities, set the atmosphere to facilitate learning, and participate in evaluating the results of creative problem-solving, counseling innovation ability, and learners’ presented performance in actual condition; and (2) students who is diligent to study in a systematic manner, systematically record the results of counseling and make reports to present to relevant persons under the supervision of experts. The efficiency of this model (E1/E2) was 85.23/86.01.
2. The effectiveness of the developed model indicated that 2.1) after participating in the guidance activities based on the model, students’ creative problem-solving and counseling innovation ability were higher than that of before at statistical significance level of .05; 2.2) after participating in the guidance activities based on the model, students developed the creative problem-solving at a high level; and 2.3) after participating in the guidance activities based on the model, students developed the counseling innovation ability at a high level.
3. The results of the dissemination using model of guidance activity indicated that creative problem solving abilities and counseling innovation abilities for lower secondary school students after using the model were significantly higher than before the instruction at .05

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/12.1jssr5%281%29.pdf
File attachments: