Abstract | บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับขวัญกำลังใจของครู 3) พลังอำนาจของผู้บริหารซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 310 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ พลังอำนาจเชื่อมโยง พลังอำนาจข้อมูลข่าวสาร พลังอำนาจเชี่ยวชาญ พลังอำนาจตามกฎหมาย พลังอำนาจอ้างอิง พลังอำนาจบังคับบัญชา และพลังอำนาจการให้รางวัล
2. ขวัญกำลังใจของครู อยู่ในระดับดีมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ สวัสดิการของหน่วยงาน ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน ความก้าวหน้าในอาชีพ ความมั่นคงในงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และสภาพการทำงาน
3. พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย พลังอำนาจข้อมูลข่าวสาร พลังอำนาจอ้างอิง พลังอำนาจเชื่อมโยง พลังอำนาจตามกฎหมาย และพลังอำนาจบังคับบัญชา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจของครู โดยสามารถร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 90.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
This research aimed to study: 1) the level of administrators’ power; 2) the level of teachers’ morale; and 3) the administrators’ power affecting the teachers’ morale. The research sample, derived by proportional stratified random sampling and distributed by districts, was 310 teachers in educational institutions under the Jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research were as follows:
1. According to teachers’ opinion, overall and in specific aspects, the administrators’ power was at the high level. The aspects, ranked from the highest to the lowest, were connective power, information power, expert power, legitimate power, referent power, coercive power, and reward power.
2. Overall and in specific aspects, the teachers’ morale was at the positive high level. The aspects, ranked from the highest to the lowest, were welfare, division, career advancement, job security, interpersonal, and working conditions.
3. The administrators’ power in the aspects of information power, referent power, connective power, legitimate power, and coercive power together predicted the teachers’ morale at the percentage of 90.40 with statistical significance at .05.
|