ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

Titleภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2559
Authorsอมรรัตน์ ศรีทอง, AMORNRAT SRITHONG
Secondary Authorsพรรณี สุวัตถี, PANNEE SUWATTHEE
Tertiary Authorsดวงใจ ชนะสิทธิ์, DUANGJAI CHANASID
Volume7
Start Page104
Issue2
Keywordsschool culture, secondary education, servant leadership, ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้, มัธยมศึกษา, วัฒนธรรมโรงเรียน
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนและครู 2) ระดับวัฒนธรรมโรงเรียน และ 3) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของจังหวัดและขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนและครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การใช้ภาวะผู้นำร่วมกัน การแสดงออกทางคุณธรรม การสร้างสังคมชุมชน การส่งเสริมการเป็นผู้นำ การเห็นคุณค่าของผู้อื่น และการพัฒนาผู้อื่น ตามลำดับ
2. วัฒนธรรมโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดีมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต การตัดสินใจ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน การส่งเสริมพลังอำนาจ ความเอื้ออาทร การยอบรับความหลากหลายของบุคลากร ความไว้วางใจ ความมีคุณภาพ และความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน ตามลำดับ
3. ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการเห็นคุณค่าของผู้อื่น ด้านการแสดงออกทางคุณธรรม การส่งเสริมการเป็นผู้นำ และการพัฒนาผู้อื่น เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียน โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 80.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
This research aimed to study: 1) the level of administrators and teachers’ opinion on servant leadership; 2) the level of school culture and; 3) administrators’ servant leadership, as predictors of school culture. The samples were 346 administrators and teachers under the Jurisdiction the Office of Secondary Educational Service Area 9, derived by proportional stratified random sampling as characterized by province and school size. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the administrators and teachers’ opinion on servant leadership was at the high level. The factors were respectively from the highest to the lowest as follows; share leadership, moral expression, community, building leadership promotion, valuing people and developing others.
2. Overall and in specific aspects, the school culture was at the high positive level. The factors were respectively from the highest to the lowest as follows; integrity, decision making, belongingness, empowerment, caring, recognition, diversity, trust, quality and goal.
3. The administrators’ servant leadership in the aspects of moral expression, leadership promotion and developing others together predicted school culture at the percentage of 80.50 with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/8.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%207%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%202%20%287.2%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206%29.pdf