Abstract | บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา 2) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 3) การพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 310 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา อยู่ระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน
2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ อยู่ระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน
3. การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านการประชุมปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อและการศึกษาทางไกล และการนิเทศการสอน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 65.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
This research aimed to study: 1) level of educational personnel development; 2) level of learning organization; and 3) educational personnel development affecting learning organization in educational institutions. The research samples, derived by proportional stratified random sampling, were 310 administrators and teachers of educational institutions under the Jurisdiction of Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the educational personnel development was at the high level.
2. Overall and in specific aspects, the learning organization was at the high level.
3. The educational personnel development in the aspects of workshop, field study, further study, and teaching supervision together predicted the learning organization in educational institutions at the percentage of 65.60 with statistical significance at .05.
|