การพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2

Titleการพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2558
Authorsรสสุคนธ์ มั่นคง, ROSSUKON MUNKONG
Secondary Authorsจิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, JITTIRAT SAENGLOETUTHAI
Tertiary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Volume6
Start Page109
Issue2
Keywordslearning organization, personnel development, primary education, การพัฒนาบุคลากร, ประถมศึกษา, องค์กรแห่งการเรียนรู้
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา 2) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) การพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำนวน 291 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
2. การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
3. การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการมอบหมายงาน การเข้าร่วมประชุมสัมมนา การหมุนเวียนงาน การฝึกอบรมในขณะทำงาน และการดูงานนอกสถานที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 75.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ABSTRACT
This research aimed to study: 1) the level of personnel development in educational institutions; 2) the level of the learning organization in educational institutions; and 3) personnel development affecting the learning organization in educational institutions. The research samples derived by proportional stratified random, sampling were 291 administrators and teachers of educational institution under the Jurisdiction of Kanchanaburi Primary Educational Service Area 2. The research instrument was a instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the personnel development in educational institutions was at a high level.
2. Overall and in specific aspects, the learning organization in educational institutions was at a high level.
3. The personnel development in the aspects of job enrichment, participation in meeting and seminar, job rotation, on the job training and field trip study together predicted learning organization in educational institutions at the percentage of 75.10 with statistical significance at .01.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/8.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%202%20%286.2%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206%29.pdf