Abstract | บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา 2) พัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และ 3) ประเมินผลการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายจากประชากร 470 คน ใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงและมีความเชื่อมั่น 0.89 โดยประยุกต์ใช้เทคนิค A-I-C ในการสร้างแผนการประชุมปฏิบัติการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าทีที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ประเด็น เรียงลำดับจากน้อยไปมาก คือ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารทั่วไป ด้านบริหารงบประมาณ และด้านบริหารวิชาการ ส่วนในด้านความต้องการเข้ามีส่วนร่วมบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความต้องการเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยเรียงลำดับจากน้อยไปมาก คือ ด้านบริหารทั่วไป ด้านบริหารงบประมาณ ด้านบริหารวิชาการ และด้านบริหารงานบุคคล จากนั้นได้นำผลการศึกษาที่พบมาใช้กำหนด เป็นโครงร่างแผนประชุมปฏิบัติการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยประยุกต์ใช้เทคนิค A-I-C ซึ่งประกอบด้วย 1) ปัญหาและความจำเป็นในการพัฒนาแผน 2) จุดมุ่งหมายของแผน และ 3) เนื้อหาในแผนสำหรับประชุมปฏิบัติการมี 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป เนื้อหาแต่ละเรื่องประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย เนื้อหา เทคนิคการประชุม สื่อ/อุปกรณ์ เวลาและการประเมินผล ผลการประเมินตรวจสอบโครงร่างแผนที่พัฒนาขึ้นโดยผู้รอบรู้เฉพาะทาง จำนวน 5 คน พบว่า แผนประชุมปฏิบัติการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมสอดคล้องในระดับมาก และเมื่อนำแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ใช้รูปแบบทดลองวัดก่อนและหลังการประชุมปฏิบัติการ พบว่า หลังการประชุมปฏิบัติการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นกลุ่มทดลอง มีความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The objectives of the research were to: 1) study problems and needs to participate in management of Office of Basic Education Commission in Betong district, Yala province; 2) develop participation in basic education management of the Office; and 3) evaluate the result of participation development in basic education management of the Office. Data was collected from 210 people derived by simple random sampling. The validated questionnaire with a reliability of 0.89 was used and the A-I-C technique was applied to conduct the workshop plan on participation development in basic education management. Data was analyzed with percentage, mean, S.D. and t-test with statistically significant at .05 level.
The research results showed that the problem of participation in management of the Basic Education Commission was overall at moderate level. The aspects, ranked from the highest to the lowest, were as follows: human resource management, general management, budget management, and academic management. The need of participation in educational management was at moderate level. The aspects, ranked from the highest to the lowest, were as follows: general management, budget management, academic management, and human resource management. The research results were used to define the workshop outline plan on participation development in basic education management of Office of Basic Education Commission in Betong district, Yala province by applied A-I-C technique. The plan comprised 1) issues and needs of plan development; 2) plan’s goals; and 3) workshop contents, including four topics—academic management, budget management, human resource management, and general management. Each topic divided into goals, contents, meeting techniques, media/equipment, time and evaluation. The developed workshop outline was evaluated by five experts. It was found that the workshop plan on participation development in basic education management of Basic Education Commission were suitably consistent at a high level. The developed plan was trialed with 36 samples, which was derived by purposive sampling, by using pretest and posttest. It was found that after the workshop of Basic Education Commission, the experimental group had more knowledge and understanding, as well as positive attitude towards participation in basic education Management with statistically significant at the .05 level.
|