การพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

Titleการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2558
Authorsนภัสนันท์ นิลบุตร, NAPHATSANAN NILABUT
Secondary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Tertiary Authorsจิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, JITTIRAT SAENGLOETUTHAI
Volume6
Start Page45
Issue1
Keywordshuman resource development, organization commitment, schools, secondary education, การพัฒนาทรัพยากรบุคคล, ความผูกพันต่อองค์กร, มัธยมศึกษา, โรงเรียน
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในโรงเรียน 2) ระดับ ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงเรียน และ 3) การพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 335 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นตามสัดส่วน กระจายตามจังหวัดและขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในโรงเรียน อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
2. ความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียน อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
3. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย การส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อการส่งไปศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียน โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 98.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
This research aimed to study: 1) the level of human resource development in secondary schools; 2) the level of organizational commitment in schools; and 3) human resource development affecting the organizational commitment in schools. The research sample, derived by proportional stratified random sampling distributed by province and school size, was 335 administrators and teachers in schools under the jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 8. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the human resource development in schools was at a high level.
2. Overall and in specific aspects, the organizational commitment in schools was at a high level.
3. The human resource development in the aspects of promotion of advanced study, field trip study and personnel training together predicted the organizational commitment in schools at the percentage of 98.70 with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/5.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201%20%286.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2