การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

Titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2558
Authorsพจนา กาญจนบุรางกูร, POTCHANA KANCHANABURANGKUN
Secondary Authorsอัมรินทร์ อินทร์อยู่, AMMARIN INYOO
Volume6
Start Page64
Issue1
Keywordsinquiry instruction model, learning achievement, science process skills, secondary education, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, มัธยมศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียน กับหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่สร้าง โดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) compare students’ learning achievement before and after learning and compare the learning achievement after learning with the set criterion; 2) compare students’ science process skills before and after learning and compare the science process skills after learning with the set criterion; and 3) analyze students’ satisfaction with learning by using inquiry instruction model. The sample was 30 grade 8 students studying in the second semester of the academic year 2013 at Kanchananukoh School in Mueang District, Kanchanaburi Province, derived by cluster random sampling. The data collection instruments were an achievement test, an assessment of science process skills, and a questionnaire on students’ satisfaction with learning, constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and t-test.
The results were as follows:
1. The learning achievement after learning by using inquiry instruction model was higher than that of before and higher than the set criterion with a statistical significance level of .05.
2. The science process skills after learning by using inquiry instruction model were higher than that of before and higher than the set criterion with a statistical significance level of .05.
3. Overall the students’ satisfaction with the learning by using inquiry instruction model on the topic of food for life was at a high level.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/6.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201%20%286.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2