สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Titleสุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2558
Authorsวรรณพิมพ์ หนูมงกุฏ, WUNNAPIM NUMONGKUD
Secondary Authorsโยธิน ศรีโสภา, YOTHIN SRISOPHA
Tertiary Authorsดวงใจ ชนะสิทธิ์, DUANGJAI CHANASIT
Volume6
Start Page121
Issue1
Keywordsorganizational health, working life quality, คุณภาพชีวิตการทำงาน, สุขภาพองค์การ
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสุขภาพองค์การในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 2) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญา และ 3) สุขภาพองค์การซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน ที่จัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ จำนวน 254 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สุขภาพองค์การในโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
3. สุขภาพองค์การ ด้านการวางแผน ด้านขวัญในการปฏิบัติงาน ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ด้านการสนับสนุนทรัพยากร ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 74.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
The objectives of this research were to study: 1) the organizational health level in schools for children with intellectual disabilities, 2) the working life quality level of the educational personnel in schools for children with intellectual disabilities, 3) organizational health level that affected the working life quality level in schools for children with intellectual disabilities. The sample, derived by proportional stratified random sampling, were 254 administrators and teachers in schools for children with intellectual disabilities under the Bureau of Special Education. The research instrument was a questionnaire developed by the researcher. The statistic used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research showed:
1. The organizational health was at a high level both in overall and specific aspects.
2. The working life quality of the educational personnel was at a high both overall and in specific aspects.
3. Planning, morale, problem-solving ability, and supporting resources were the organizational health together predicted the working life quality of the educational personnel in schools for children with intellectual disabilities at the percentage of 74.20 with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201%20%286.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2