วัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Titleวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2557
Authorsณัฐพงศ์ ชนะสุข, NATTAPONG CHANASUK
Secondary Authorsธีรวุธ ธาดาตันติโชค, THEERAWOOT THADATONTICHOK
Tertiary Authorsนภาภรณ์ ยอดสิน, NAPAPORN YODSIN
Volume5
Start Page27
Issue2
KeywordsICT culture, learning organization, primary educational, การประถมศึกษา, วัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, องค์กรแห่งการเรียนรู้
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสอสารของสถานศึกษา 2) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) วัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 302 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน
3. วัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการปลูกจิตสำนึก ด้านการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความพร้อมใช้งานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านความตระหนัก ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 63.60 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

ABSTRACT
This research aimed to study: 1) the level of information and communication technology culture (ICT) in basic educational institutions; 2) the level of learning organization being in basic educational institutions; and 3) information and communication technology culture affecting learning organizations being. The research sample were 302 respondents, consisting of administrators and teachers working in educational institutions under the Jurisdiction of Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office, derived by proportional stratified random sampling. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, stepwise multiple regression analysis and content analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the level of ICT culture of the basic educational institutions was at a high level.
2. Overall and in specific aspects, the level of learning organization being of the basic educational institutions was at a high level.
3. The ICT culture in the aspects of conscious cultivation, e-participation, ICT availability and awareness predicted the level of learning organization being of the basic educational institutions at the percentage of 63.60 with statistically significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/4.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202%20%285.2%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2