Abstract | บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ขนาดของสถานศึกษาที่สังกัดและทำเลที่ตั้ง และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 317 คน และผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนและการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งภาพรวมและรายด้าน
2. ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาที่มีเพศ อายุ ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ทั้งในภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาที่มีวุฒิการศึกษา ขนาดของสถานศึกษาที่สังกัด และทำเลที่ตั้งของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่รายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา ควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยส่งเสริมให้สิ่งแวดล้อม มีความเพียงพอและเหมาะสมกับสถานศึกษา สร้างบรรยากาศทางการศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
ABSTRACT
This research aimed to: 1) study implementation level of environmental management in educational institutions; 2) compare environmental management in educational institutions as classified by personal factors, school size, and location; and 3) study the development guidelines on environmental management in educational institutions. The research samples were school administers and teachers of educational institutions under the Jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, consisting of 317 respondents and 20 interviewers, derived by proportional stratified random sampling and purposive sampling. The research instruments were a questionnaire and an interview form constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance and content analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Environmental management in educational institutions was at a highest level in both overall and specific aspects.
2. There was no significant difference in opinion of environmental management among administrators and teachers with differences in sex, age, position and work experience, both overall and specifics aspects. Additionally, there was no significant difference in opinion of environmental management between those who differed in educational background, school size, and school location in overall aspect. When considering each aspect, there were significant differences at .05 level.
3. Administrators and teachers should participate in environmental management planning and concerned with important factors of environmental management that encouraged sufficiently and appropriately school environment. In addition, they should create a school climate for enhancing performance of administrators, teachers, student, parent and community.
|