การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาเคมี เรื่องปริมาณสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นกับแบบปกติ

Titleการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาเคมี เรื่องปริมาณสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นกับแบบปกติ
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2557
Authorsอุบลวดี อดิเรกตระการ, UBOLVADEE ADIREKTRAKRAN
Secondary Authorsเนติ เฉลยวาเรศ, NETI CHALOEYWARES
Tertiary Authorsสุเทพ อ่อนไสว, SUTHEP ONSAWAI
Volume5
Start Page156
Issue2
Keywordsactive learning method, attitude towards chemistry, conventional learning method, learning achievement, การจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น, การจัดการเรียนรู้แบบปกติ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติต่อวิชาเคมี
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นระหว่าง ก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่องปริมาณสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นกับแบบปกติ 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นกับแบบปกติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 84 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 42 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น 2) แผน การจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.921 และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาเคมีมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.865 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ของนกเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นสูงกว่าแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นสูงกว่าแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
This research aimed to compare 1) students’ learning achievement on the topic of Stoichiometry before and after learning by using active learning method; 2) students’ learning achievement on the topic of Stoichiometry before and after learning by using conventional learning method; 3) students’ learning achievement after learning by using active learning method and after learning by using conventional learning method; and 4) students’ attitude towards chemistry learning by using active learning and learning by using conventional learning method. The sample was 84 Matthayomsuksa 4 students who studied in 2 classrooms of Science-Mathematics Program in Kannasootsuksalai School, Suphanburi Province, during the second semester of the academic year 2013. The sample was divided into 2 groups by using simple random sampling method, 42 students for an experimental group and 42 students for a control group. The experimental instruments were 1) a lesson plan based on active learning method, 2) a lesson plan based on conventional learning method, 3) a learning achievement test with level of reliability of 0.921, and 4) an attitude evaluation form with the level of reliability of 0.865. The statistics used for analyzing the data were means, standard deviation, -coefficient and the t-test.
The findings showed that:
1. The learning achievement after learning by using active learning method was higher than that of before at the .05 level of statistical significance.
2. The learning achievement after learning by using conventional learning method was higher than that of before the .05 level of statistical significance.
3. The learning achievement after learning by using active learning was higher than that of using conventional learning method at the .05 level of statistical significance.
4. The students’ attitude towards chemistry learning on the topic of Stoichiometry by using active learning was higher than that of the students learning by using conventional learning method at the .05 level of statistical significance.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/11.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202%20%285.2%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%