การสร้างสื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเทียนแฟนซี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Titleการสร้างสื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเทียนแฟนซี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2557
Authorsภาวศุทธิ ด้วงหอม, PAWASUT DUANGHOM
Secondary Authorsสุวิมล มรรควิบูลย์ชัย, SUVIMOL MUKVIBOONCHAI
Tertiary Authorsจิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, JITTIRAT SAENGLOETUTHAI
Volume5
Start Page51
Issue1
Keywordscreative thinking, multimedia learning, secondary student, การเรียนด้วยสื่อประสม, ความคิดสร้างสรรค์, นักเรียนมัธยมศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อประสมในรายวิชาเทียนแฟนซีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อประสม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อประสม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ปีการศึกษา 2555 ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 50 คน เครื่องมือการวิจัย ซึ่งสร้างโดยผู้วิจัยประกอบด้วย 1) สื่อประสม 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประสมที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สื่อประสม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 83.44/81.96
2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนรายวิชาเทียนแฟนซีโดยใช้สื่อประสมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อสื่อประสม อยู่ในระดับมากที่สุด

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) develop the multimedia in fancy candle course for grade 10 students; 2) compare creative thinking of grade 10 students before and after learning with the developed multimedia; and 3) study student’s satisfaction toward developed multimedia. The sample derived by purposive sampling was 50 grade 10 students at Rachaborikanukhrok School in the academic year 2012. The research instruments constructed by the researcher were 1) multimedia, 2) creative thinking test, and 3) satisfaction questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean and standard deviation.
The findings of this research showed that:
1. The efficiency of the developed multimedia met the criterion at 83.44/81.96.
2. The student’s creative thinking after learning with the developed multimedia was higher than before.
3. The student’s satisfaction towards developed multimedia was at the highest level.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/6.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%201%20%285.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%204%29.pdf