การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

Titleการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2557
Authorsยุพิน ภารนันท์, YUPIN PHARANANT
Secondary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Volume5
Start Page68
Issue1
Keywordsacademic administration, educational institution, learning organization, primary education, การบริหารงานวิชาการ, ประถมศึกษา, สถานศึกษา, องค์การแห่งการเรียนรู้
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 2) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริหารงานวิชาการและการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 276 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
3. การบริหารงานวิชาการส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1) การนิเทศและการแนะแนวการศึกษา 2) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ 3) การวางแผนงานวิชาการ 4) การพัฒนาหลักสูตร 5) การส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมืองานด้านวิชาการ และ 6) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 85.60
4. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการและการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้พบว่า สถานศึกษาขาดแคลนครูงบประมาณ สื่อและอุปกรณ์สนับสนุนในการพัฒนา กระบวนการเรียนการสอน ครูมีภาระหน้าที่นอกเหนืองานสอนมาก ดังนั้น สถานศึกษาควรเพิ่มงบประมาณ สื่อ และเทคโนโลยีให้เพียงพอ สร้างความร่วมมือกันในการทำงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

ABSTRACT
This research aimed to study: 1) the level of academic administration of educational institutions; 2) the level of learning organization of educational institutions; 3) academic administration affecting learning organization in educational institutions; and 4) problems and suggestions for academic administration and learning organization in educational institutions. The research samples were 276 administrators and teachers in educational institutions under the Jurisdiction of Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2 derived by proportional stratified random sampling. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, stepwise multiple regression analysis and content analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Academic administration of educational institutions was at a high level in both overall and individual aspects.
2. Learning organization of educational institutions was at a high level in both overall and individual aspects.
3. Academic administration affected learning organization in educational institutions with statistical significance at .05 level in 6 aspects: 1) supervision and guidance; 2) development of media, innovations and technologies for education and learning sources; 3) academic planning; 4) curriculum development; 5) academic support and coordination; and 6) the development of an internal quality assurance system and educational standards, accounting for 85.60% of variance explained.
4. Regarding problems and suggestions for academic administration and learning organization of educational institutions, it was found that institutions lacked teachers, funding, media, and educational devices for learning and learning development. Teachers also had excessive workloads. Therefore, educational institutions should provide sufficient funding, media, and technology. Educational institutions should also encourage both internal and external collaborations in order to enhance their performance.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/7.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%201%20%285.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205%29%281%29.pdf