พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดบริการแนะแนวของโรงเรียน เฉพาะความพิการ ประเภทความบกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มสถานศึกษา กลุ่ม 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Titleพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดบริการแนะแนวของโรงเรียน เฉพาะความพิการ ประเภทความบกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มสถานศึกษา กลุ่ม 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2557
Authorsวัลลี จันทร์แจ้ง, WANLEE CHANCHAENG
Secondary Authorsโยธิน ศรีโสภา, YOTHIN SRISOPHA
Volume5
Start Page109
Issue1
Keywordsadministrative behavior, guidance service, special education school for hearing impaired students, การจัดบริการแนะแนว, พฤติกรรมการบริหาร, โรงเรียนเฉพาะความพิการประเภทความบกพร่องทางการได้ยิน
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร 2) ระดับการจัดบริการแนะแนว และ 3) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดบริการแนะแนว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างานแนะแนว ครูแนะแนว และครูประจำชั้นในโรงเรียนเฉพาะความพิการ ประเภทความบกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มสถานศึกษากลุ่ม 1 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 145 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารอยู่ระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน
2. การจัดบริการแนะแนวอยู่ระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน
3. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารส่งผลต่อการจัดบริการแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) การติดต่อสื่อสาร และ 2) การตัดสินใจ โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 54

ABSTRACT
This research aimed to study: 1) the level of administrative behaviors of administrators; 2) the level of guidance services; and 3) the administrative behavior affecting guidance services. The research sample, derived by proportional stratified random sampling, consisted of administrators, heads of guidance sections, guidance teachers and classroom teachers of special education schools for hearing impairment in Educational Institution Group 1 under the jurisdiction of the Office of Basic Education Commission, totaling 145 respondents. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the administrative behavior of administrators was at the high level.
2. Overall and in specific aspects, the guidance service was at the high level.
3. The administrative behaviors of administrators affected the guidance services with the statistical significance at .05 level in 2 aspects, 1) communication and 2) decision making, accounting for 54 % of variance explained.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%201%20%285.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%207%29.pdf