สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

Titleสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsนิจพิชา ตันสุวรรณ, NITPICHA TANSUWAN
Volume9
Issue1
Keywordsacademic administration, basic education board, expectations and reality, การบริหารงานวิชาการ, คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริง
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของครูและผู้บริหารต่อสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูและผู้บริหารต่อสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน 3) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูและผู้บริหารต่อสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมงานวิชาการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ และการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 335 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของครูและผู้บริหารต่อสภาพที่คาดหวังของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการส่งเสริมวิชาการ ด้านการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและชุมชน ด้านสื่อและนวัตกรรม และด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับระดับความคิดเห็นของสภาพที่เป็นจริงโดยภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม ด้านการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและชุมชน ด้านการส่งเสริมวิชาการ และด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. ครูและผู้บริหารที่มีอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับสภาพที่เป็นจริงของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการในภาพรวมแตกต่างกัน ส่วนครูและผู้บริหารที่มีเพศและตำแหน่งหน้าที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับสภาพที่เป็นจริงของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการในภาพรวมไม่แตกต่างกัน สำหรับครูและผู้บริหารที่มีเพศ ตำแหน่งงาน อายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับสภาพที่คาดหวังของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
3. ครูและผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความคิดเห็นต่อสภาพที่คาดหวังสูงกว่าสภาพที่เป็นจริง

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) study the level of teachers and administrators’ opinion regarding expectation and reality of school committee participation in academic administration in schools under the Jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office 8; 2) compare the level of opinions regarding expectation and reality as classified by sex, age, educational level and position; and 3) analyze the level of opinions regarding expectation and reality in the aspects of academic promotion, educational quality development, learning media and innovation and establishment of partnerships with networks and communities. The research sample was 335 teachers and administrators in schools under the Jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office 8, derived by stratified random sampling as distributed by school sizes. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and one-way analysis of variance.
The results found that:
1. The teachers and administrators’ level of opinion regarding expectation was generally at a high level. When considering in each aspect, academic promotion was the highest, followed by establishment partnerships with networks and communities, media and innovation, and educational quality development respectively. As for the opinions regarding reality, it was overall at the high level. When considering each aspect, media and innovation was the highly establishment partnerships with networks and communities, academic development, and educational quality development respectively.
2. The teachers and administrators with differences in age and educational level had different level opinions regarding the reality of school committee’s participation with statistical significance at .05; while there was no statistical differences in sex and position.
The teachers and administrators with differences in sex, position, age and educational level had no difference in level of opinions regarding the expectation.
3. There was difference in teachers and administrators level of opinions regarding expectation and reality of school committee participation in academic administration with statistical significance at .05; level of opinions regarding expectation was higher than that of the reality in all aspects.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.1JSSR%206.pdf