การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL

Titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsปิยะทิพย์ เชาว์ฉลาด, PIYATHIP CHAOCHALAT
Secondary Authorsนันท์นภัส นิยมทรัพย์, NANNABHAT NIYOMSAP
Tertiary Authorsจินตนา ศิริธัญญารัตน์, CHINTANA SIRITHANYARAT
Volume9
Issue1
KeywordsKWDL teaching technique, learning achievement, mathematical problem-solving ability, mathematics, problem-based learning, คณิตศาสตร์, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ปัญหาเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เทคนิค KWDL
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพวิทยา อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.23-0.75 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.70 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.64-0.78 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.38-0.46 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
The research aimed to: 1) compare the mathematical learning achievement of Mathayomsuksa 1 students using problem-based learning with KWDL teaching technique between pretest and posttest and posttest with the specified criteria; and 2) compare mathematical problem-solving ability of Mathayomsuksa 1 students using problem-based learning with KWDL teaching technique between pretest and posttest and posttest with the specified criteria. A sample group of 30 Mathayomsuksa 1 students studying in the second semester of the academic year 2016 at Nongphowittaya School, Photharam District, Ratchaburi Province was derived by cluster random sampling. The research instruments consisted of: 1) lesson plans based on problem-based learning with KWDL teaching technique with the validity between 0.67 - 1.00; 2) the mathematics achievement test with the validity between 0.67 - 1.00, the difficulty index between 0.23 - 0.75, the power of discrimination between 0.20 - 0.70 and the reliability of 0.88; and 3) the mathematical problem-solving ability test with the validity of 1.00, the difficulty index between 0.64 - 0.78, the power of discrimination between 0.38 - 0.46 and the reliability of 0.91. Data were analyzed with mean, standard deviation, and t-test.
The findings of this research were as follows:
1. The students’ mathematical learning achievement after learning with problem-based learning with KWDL teaching technique was higher than before and higher than the specified criteria at 70% with statistical significance at .05.
2. The students’ mathematical problem-solving ability after learning with problem-based learning with KWDL teaching technique was higher than before and higher than the specified criteria at 70% with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.1JSSR%2010.pdf