การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดราชบุรี

Titleการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดราชบุรี
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsเอกนคร อัคธรรมโม, AKENAKORN AUKKATHAMMO
Secondary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Tertiary Authorsนภาภรณ์ ยอดสิน, NAPAPORN YODSIN
Volume9
Issue1
Keywordsempowerment, organizational commitment, primary education, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ความผูกพันต่อองค์การ, ประถมศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครู 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของครู และ 3) วิเคราะห์การเสริมสร้างพลังอำนาจซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดราชบุรี จำนวน 322 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามตอนที่ 1 ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจครู เท่ากับ 0.97 และตอนที่ 2 ความผูกพันต่อองค์การของครู เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วยคุณลักษณะ ความรับผิดชอบ ข้อตกลงในความสำเร็จ การนิเทศตนเอง ทักษะ และโครงสร้างและระบบสนับสนุน
2. ความผูกพันต่อองค์การของครูอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วยความผูกพันด้านจิตใจ ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน และความผูกพันด้านการคงอยู่
3. การเสริมสร้างพลังอำนาจครู ประกอบด้วย โครงสร้างและระบบสนับสนุน (X5) ความรับผิดชอบ (X6) และข้อตกลงในความสำเร็จ (X3) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู (Y_tot) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 34.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y ̂_tot = 2.01 + 0.14 (X5) + 0.22 (X6) + 0.19 (X3)

ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the level of teachers’ empowerment; 2) identify the level of teachers’ organizational commitment; and 3) analyze the teachers’ empowerment affecting teachers’ organizational commitment. The research sample, derived by proportional stratified random sampling as distributed by district, was 322 teachers of government primary schools in Ratchaburi Province. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher with IOC content between 0.67 to 1.00. The internal consistency reliability coefficients of the questionnaire: part 1 teachers’ empowerment was 0.97 and part 2 teachers’ organizational commitment was 0.98. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the teachers’ empowerment was at a high level. These aspects were character, accountability, win-win agreement, self-supervision, skills, and helpful structure and system.
2. Overall and in specific aspects, the teachers’ organizational commitment was at a high level.These aspects were affective commitment, continuance commitment, and normative commitment.
3. The teachers’empowerment in the aspects of helpful structure and system (X5), accountability (X6), and win-win agreement (X3), together predicted the teachers’ organizational commitment (Y_tot) at the percentage of 34.50 with statistical significance at .01. The regression equation was Y ̂_(tot ) = 2.01 + 0.14 (X5) + 0.22 (X6) + 0.19 (X3).

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.1JSSR%2013.pdf