การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

Titleการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsเนตรนภา ฝัดค้า, NATNAPA FADKHA
Secondary Authorsนภาภรณ์ ยอดสิน, NAPAPORN YODSIN
Tertiary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Volume9
Issue2
Keywordshuman resource management, primary education, teacher’s functional competency, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ประถมศึกษา, สมรรถนะประจำสายงานของครู
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะประจำสายงานของครู และ 3) วิเคราะห์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 274 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหาเท่ากับ 0.67 และ 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม การบริหารทรัพยากรมนุษย์และสมรรถนะประจำสายงานของครู เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย การพัฒนา การคัดเลือก การประเมิน การปรับเปลี่ยน การสร้างแรงดึงดูดใจ และการธำรงไว้
2. สมรรถนะประจำสายงานของครู อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย การพัฒนาผู้เรียน การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน ภาวะผู้นำครู การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย การธำรงไว้ (X3) การสร้างแรงดึงดูดใจ (X1) การประเมิน (X5) และการพัฒนา (X4) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู (Ytot) โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 52.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ = 1.85 + 0.17 (X3) + 0.20 (X1) + 0.11 (X5) + 0.09 (X4)

ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the level of human resource management; 2) identify the level of teachers’ functional competencies; and 3) analyze human resource management affecting teachers’ functional competencies. The research sample was 274 administrators and teachers of schools in Suphan Buri Primary Educational Service Area Office 2, derived by proportional stratified random sampling as distributed by district. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher with IOC content validity of 0.67 and 1.00. The internal consistency reliability coefficients of questionnaire were 0.99 for both human resource management and teachers’ functional competencies. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the human resource management was at a high level. These aspects were as follows: development, selection, assessment, adjustment, attraction, and retention.
2. Overall and in specific aspects, the teachers’ functional competencies were at a high level. These aspects were as follows: student development, relationship and collaborative-building for learning management, classroom management, teacher leadership, curriculum and learning management, analysis, synthesis, and classroom research.
3. The Human resource management in the aspects of retention (X3), attraction (X1), assessment (X5), and development (X4) together predicted the teachers’ functional competencies (Ytot) at the percentage of 52.60 with statistical significance at .05. The regression equation was = 1.85 + 0.17 (X3) + 0.20 (X1) + 0.11 (X5) + 0.09 (X4).

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr4.pdf