การพึ่งพาป่าชุมชน ของชุมชนบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

Titleการพึ่งพาป่าชุมชน ของชุมชนบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsปริญญา นิกรกุล, PARINYA NIKORNKUL
Secondary Authorsพระครู วิโชติสิกขกิจ, PHRAKHRU VICHOTSIKKHAKIJ
Tertiary Authorsพระครู อุเทศธรรมสาทิศ, PHRAKHRU UTHETTHAMMASATHIT
Volume9
Issue2
Keywordscommunity forest, Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, reliance, การพึ่งพา, ป่าชุมชน, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Abstract

บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของประชาชน 2) ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการพึ่งพาป่าชุมชนของชุมชนบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดย การวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 16 คน การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนาโดยเน้นการแสดงภาพ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างละเอียด
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชน บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ชุมชนดั้งเดิมเป็นชุมชนกระเหรี่ยง และชุมชนอพยพมีสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ คนอีสาน มาตั้งรกราก สมัยที่มีการสัมปทานป่าไม้ และคนไทยภาคกลาง มาตั้งรกรากในพื้นที่สมัยช่วงทำเหมืองแร่ ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยมีการจับจองกันเองจนวิวัฒนาการมามีเอกสารสิทธิต่าง ๆ และในบางพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิแต่มีการจับจองที่ดินทำกิน ส่วนมากชุมชนทำอาชีพเกษตรกรรม เช่น อ้อย ข้าวโพด สับปะรด มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว เป็นต้น เศรษฐกิจของชุมชนที่เกิดจากป่าชุม คือ การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากป่าชุมชนตามฤดูกาล เช่น หน่อไม้ เห็ดโคน เป็นต้น 2) กระบวนการพึ่งพาป่าชุมชนของประชาชน บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ชุมชนดั้งเดิมและชุมชนอพยพ ได้ก่อตั้งรกรากโดยมีการพึ่งพาป่าในการดำรงชีพของคนในชุมชนซึ่งเชื่อว่าป่า คือ ทรัพยากรที่สามารถใช้สอยได้ตามอัธยาศัยโดยที่ไม่เหลื่อมล้ำกฎกติกาใหญ่ (2) ชุมชนกระหรี่ยงมีการพึ่งพาป่าโดยสัญชาติญาณ ทางด้านความเชื่อชุมชนกระเหรี่ยงได้เชื่อว่าเป็นป่าทางจิตวิญญาณมีการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามวิถีวัฒนธรรมของชุมชน

ABSTRACT
The objectives of this research were to study: 1) the way of life of people; and 2) the process of reliance on the community forest of communities at Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary. This study is a qualitative research. Data were collected by document research and field study, including in-depth interviews and non-participant observation. The 16 key informants were interviewed. Triangulation were used to validate the data collection. Data were analyzed with content analysis and descriptive analysis focusing on image, emotion and feeling in detail.
The findings were as follows: 1) in Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, there were the traditional community of Karen and two major groups of immigrants. They were northeasterners who settled down with the forest concessions and Central Thai people who settled in the period of mining lease. People could freely stake out a claim to a land for living and residing, later getting ownership certificate. In some areas, there was still land claims without certificate of title. Most of the community does agriculture, for example planting sugar cane, corn, pineapple, cassava, rubber, palm oil, rice etc. The economy of the community based on community forest was the harvest of seasonal produces like bamboo shoots, termite mushrooms etc. 2) The process of community forest reliance of people in Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary area was divided into 2 parts. (1) The traditional and migrant communities settled by relying on forests for livelihood. Community people believed that forests were resource that could be used freely without overlapping the big rules. (2) The Karen community was reliant on forest by intuition. They believed in spiritual forest with various rituals following way of community culture.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr6.pdf