การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ต่อความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน จังหวัดนครราชสีมา

Titleการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ต่อความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน จังหวัดนครราชสีมา
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsพัชรนันท์ นราศิริกุลพิชัย, PATCHARANUN NARASIRIKUNPICHAI
Secondary Authorsไพศาล หวังพานิช, PAISAL WANGPANICH
Tertiary Authorsสงวนพงศ์ ชวนชม, SANGUANPONG CHUANCHOM
Volume9
Issue2
KeywordsEnglish reading, SQ4R learning management, การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R, การอ่านภาษาอังกฤษ
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R กับเกณฑ์ร้อยละ 60 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวานิชวิทยา อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่มจากทั้งหมด 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบ SQ4R จำนวน 8 แผน แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
1. ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) compare the English reading comprehension ability of grade 6 students before and after using SQ4R learning management; 2) compare the English reading comprehension ability of grade 6 students after using SQ4R learning management with the set criterion of 60 percent; and 3) study the students’ satisfaction toward SQ4R learning management. The sample consisted of 35 grade 6 students in the 2nd semester of academic year 2017 of Wanitwittaya School in Bua Yai District, Nakhon Ratchasima Province, under the Office of the Private Education Commission. The sample was derived by using cluster random sampling from 3 classrooms. The research instruments were 8 lesson plans of SQ4R learning management, a 30-item achievement test of English reading comprehension, and a 20-item questionnaire about students’ satisfaction toward SQ4R learning management. The collected data were analyzed with percentage, mean ( ), standard deviation, and dependent t-test.
The results of the study were as follows:
1. The English reading comprehension ability of grade 6 students after using SQ4R learning management were statistically significantly higher than that of before at the .01 level.
2. The English reading comprehension ability of grade 6 students after using SQ4R learning management were statistically significantly higher than the set criterion of 60 percent at the .01 level.
3. The students’ satisfaction toward SQ4R learning management grade 6 students was at a high level.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr8.pdf