การดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิเพื่อสตรีและเด็กเครือข่ายคริสเตียนภาคกลาง

Titleการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิเพื่อสตรีและเด็กเครือข่ายคริสเตียนภาคกลาง
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsมณฑิตา ไชยสมบัติ, MONTHITA CHAISOMBAT
Secondary Authorsธีรวุธ ธาดาตันติโชค, THEERAWUT TADATONTICHOK
Tertiary Authorsดวงใจ ชนะสิทธิ์, DUANGJAI CHANASID
Volume9
Issue2
KeywordsCentral Thailand Christian Network Foundation for Women and Children, service operation, การดำเนินงานด้านการบริการ, มูลนิธิเพื่อสตรีและเด็กเครือข่ายคริสเตียนภาคกลาง
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากร ต่อผลการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิเพื่อสตรีและเด็กเครือข่ายคริสเตียนภาคกลาง 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรต่อผลการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล หน่วยงานของมูลนิธิ และอายุการก่อตั้ง 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร และบุคลากรของมูลนิธิ จำนวน 86 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นกระจายตามเครือข่าย และกลุ่มที่ 2 คือผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย คณะกรรมการ ประธาน ผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการ จำนวน 8 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย โดยมีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรต่อผลการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิในภาพรวมมีระดับมาก ประกอบด้วย การพัฒนาจิตวิญญาณ การศึกษา อาคารสถานที่ การรักษาพยาบาลและอนามัย สังคมสงเคราะห์และจิตวิทยา และการจัดหางาน
2. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรต่อการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิ จำแนกตามประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับมูลนิธิ หน่วยงานของมูลนิธิ และอายุการก่อตั้งต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการจำแนกตามเพศ ตำแหน่ง อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านการบริการของมูลนิธิ ที่เสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) ด้านสังคมสงเคราะห์และจิตวิทยา ควรจัดอบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกเอกสาร และหลักการให้การปรึกษาแก่บุคลากร 2) ด้านการรักษาพยาบาลและอนามัย ควรติดต่อประสานงานกับหน่วยบริการทางสาธารณสุข หรือสถานพยาบาลอื่นในการรักษา ตรวจสุขภาพ และให้ความรู้เรื่องสุขอนามัยแก่บุคลากร 3) ด้านการศึกษา ควรร่วมมือกับสถานศึกษาเพื่อให้การช่วยเหลือ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านอาคารสถานที่ ผู้บริหารควรเป็นผู้กลั่นกรองและตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบการประกันภัย และบริษัทประกันภัยที่ได้มาตรฐาน 5) ด้านการจัดหางาน ควรแต่งตั้งบุคลากรเพื่อติดตามดูแล ให้การช่วยเหลืออย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และ 6) ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ ผู้บริหารและบุคลากรที่มีความรู้ด้านพระคัมภีร์ ควรจัดทำหลักสูตร หรือรูปแบบการศึกษา ค้นคว้าให้เหมาะสมกับบริบท พร้อมทั้งมีการประเมินผล แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาอยู่เสมอ

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) study the level of administrators and personnel’s opinions towards the service operations of the foundation “Central Thailand Christian Network Foundation for Women and Children”; 2) compare the administrators and personnel’s opinions towards service operations of the foundation as classified by personal factors, foundation’s department and period of establishment; and 3) suggest guidelines for developing service operation of the foundation. The research samples consisted of 2 groups. The first group was of 86 foundation administrators and personnel, derived by stratified random sampling distributed by foundation’s network. The second group was 8 interviewees consisting of foundation’s committee, foundation's presidents, foundation’s directors or foundation’s managers, derived by purposive sampling. The research instruments were a questionnaire, constructed by the researcher with IOC content between 0.67-1.00 and the internal consistency coefficients was 0.94, and an interview form. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, and content analysis.
The research results showed that:
1. The level of administrators and personnel’s opinions towards the service operations of the foundation was at a high level. These aspects were as follows: spiritual development, education, building, clinical nursing practices and sanitation, psychological and social welfare, and vocational services.
2. The administrators and personnel’s opinion towards service operations of foundation as classified by work experiences, foundation department, period of establishment was different with statistical significance at .05. There was no difference when classified by gender, job position, age, highest educational level, and occupation.
3. The guidelines for service operations of the foundation were: 1) regarding psychological and social welfare, there should be personnel training on recording documents and principle of counseling; 2) regarding medical and health care, the personnel should cooperate with health service agencies or hospitals concerning treatments and checkups, and sanitary training; 3) regarding education, the foundation should collaborate with schools to provide continuous help, follow up, and assessment; 4) regarding building, the administrator should be the person in charge of deliberating and making decision on the insurance program from standard insurance company; 5) regarding employment, the foundation should authorize personnel to monitor and provide continuous help; 6) regarding spiritual development, administrators and personnel should be knowledgeable of the Bible. There should be a curriculum or educational module suitable for the foundation’s context with continuous evaluation, modification, and development.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr9.pdf