การควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Titleการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsวรัชญ์ณัฏฐ์ ผ่องธรรม, VARATCHANAT PONGTHAM
Secondary Authorsนภาภรณ์ ยอดสิน, NAPAPORN YODSIN
Tertiary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Volume9
Issue2
Keywordsbudgeting administration, internal control, primary education, การควบคุมภายใน, การบริหารงบประมาณ, ประถมศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการควบคุมภายในของสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์การควบคุมภายในซึ่งเป็นปัจจัย ที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูเจ้าหน้าที่การเงิน และครูเจ้าหน้าที่พัสดุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 225 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านการควบคุมภายใน เท่ากับ 0.98 และ ด้านการบริหารงบประมาณ เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การควบคุมภายในของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมของการควบคุม กิจกรรมการควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร การติดตามประเมินผล และการประเมินความเสี่ยง
2. การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย การบริหารการเงินและการบัญชี การบริหารงบประมาณ การวางแผนงบประมาณ การตรวจสอบและติดตามการประเมินผล การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ และการบริหารทรัพยากร
3. การควบคุมภายใน ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมของการควบคุม (X1) กิจกรรมการควบคุม (X3) สารสนเทศและการสื่อสาร (X4) และการติดตามประเมินผล (X5) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา (Ytot ) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 70.08 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y ̂tot = 0.85 + 0.22 (X1) + 0.21 (X3) + 0.17 (X4) + 0.18 (X5)

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) study the level of internal control in educational institutions; 2) identify the level of budgeting administration; and 3) analyze internal control affecting budgeting administration. The research sample was 225 administrators and teachers under Samut Sakhon Primary Educational Service Area, derived by proportional stratified random sampling as distributed by district. The research instrument used to collect data was a questionnaire constructed by the researcher with IOC content between 0.67 and 1.00. The internal consistency reliability coefficients of the questionnaire were 0.98 for internal control and 0.98 for budgeting administration. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the internal control in educational institutions was at a high level. These aspects were as follows: control environment, control activities, information and communications, monitoring, and risk assessment.
2. Overall and in specific aspects, the budgeting administration in educational institutions was at a high level. These aspects were as follows: financial management and accounting, budget administration, budget planning, monitoring and follow-up evaluation, procurement and asset management, and resource management.
3. The internal control in the aspects of control environment (X1), control activities (X3), information and communications (X4), and monitoring (X5) together predicted the budgeting administration of educational institutions (Ytot) at the percentage of 70.08 with statistical significance at .01. The regression equation was Y ̂tot = 0.85 + 0.22 (X1) + 0.21 (X3) + 0.17 (X4) + 0.18 (X5).

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr14.pdf