ทิศทางผลกระทบ และการปรับตัว ต่ออัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 308 บาทของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา

Titleทิศทางผลกระทบ และการปรับตัว ต่ออัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 308 บาทของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsวลัยลักษณ์ รัตนวงศ์, WALAILAK RATTANAWONG
Secondary Authorsสายฝน ไชยศรี, SAIFON CHAISRI
Tertiary Authorsปาริชาติ จันทร์ศรีบุตร, PARICHAT JANSRIBOOT
Volume9
Issue2
Keywordsimpact, minimum wage, small and medium enterprise, Songkhla Province, จังหวัดสงขลา, ผลกระทบ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลาที่มีต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 308 บาท 2) การปรับตัวของผู้ประกอบการต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยผสมวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ สถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา จำนวน 8,799 แห่ง ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้างแก่ผู้ประกอบการ จำนวน 400 ราย และสัมภาษณ์เจาะลึก จำนวน 6 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า
1. การดำเนินกิจการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา ในด้านต้นทุนการผลิต การลงทุน การจัดสวัสดิการ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายภาคพบว่า ภาคการผลิตและภาคการค้า ได้รับผลกระทบในด้านต้นทุนการผลิตในระดับมาก ส่วนภาคบริการได้รับผลกระทบทุกด้านในระดับปานกลาง
2. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สามารถปรับตัวได้ มีเพียงร้อยละ 7.25 ไม่สามารถปรับตัวได้ กระบวนการบริหารจัดการที่นำมาปรับใช้ โดยเรียงตามลำดับจากค่าร้อยละของการเลือกตอบ 3 ลำดับแรกจากมากไปหาน้อย คือการบริหารด้านการเงิน การบริหารงานบุคคล การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ ที่ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ส่วนวิธีการปรับตัวที่เลือกใช้ ได้แก่ การควบคุมต้นทุน/ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น การเพิ่มภาระงาน 1 คน ต่องานหลายด้าน และการเพิ่มราคาสินค้าและบริการ
3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผู้ประกอบการแสดงความคิดเห็นว่าภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในด้านการลดหย่อนภาษี การพิจารณาความแตกต่างในแต่ละประเภทธุรกิจก่อนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งต่อไป และการเร่งรัดนโยบายเพื่อกู้เศรษฐกิจในจังหวัดสงขลาให้กลับมาดีขึ้นอย่างเร่งด่วน

ABSTRACT
The purposes of this research was to study: 1) the impacts of the adjustment of the minimum wage rate of 308 Baht on the operation on Small and Medium Enterprises (SMEs) in Songkhla Province; 2) the adaptation of SMEs to the adjustment of the minimum wage; and 3) the policy recommendations. Mixed method, quantitative and qualitative, was used in this research. The population in this study was 8,799 SMEs in Songkhla Province. The simple random sampling was done. Data were collected by a structured questionnaire of 400 SME entrepreneurs and an in-depth interview of 6 SME entrepreneurs. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and descriptive analysis was used for qualitative data.
The study was found that:
1. Overall, the operation of SMEs in Songkhla Province in the aspects of production cost, investment, welfare provision, and human resources management was moderately affected. When considering each sector, manufacturing sector and trading sector were highly affected in the aspect of production cost, and service sector was moderately affected in all aspects.
2. Most entrepreneurs were able to adapt themselves to this new minimum wage regulation, while only 7.25% could not. The management processes implemented, in the order of top three percentage of answer, were financial management, personnel management, and the application of techniques and new methods to increase management efficiency. The adaptation strategies used was controlling cost/cutting unnecessary expenditure, increasing workload of one person per several jobs, and increasing price of goods and services.
3. For policy recommendation, SME entrepreneurs suggested that the government should provide supports in terms of tax deduction; consider the differences in each type of business before adjusting the next minimum wage; and accelerate policy on economic recovery in Songkhla Province.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr15.pdf