การพัฒนารูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา

Titleการพัฒนารูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsสมสุข นิธิอุทัย, SOMSOOK NITHIUTHAI
Secondary Authorsประทีป จินงี่, PRATEEP JINNGE
Tertiary Authorsอรพินทร์ ชูชม, ORAPHIN CHOOCOOM
Volume9
Issue2
Keywordslife crisis, older people, stress management program, ความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิต, ผู้สูงอายุ, รูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิต
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านวาสนะเวศม์ ปีพ.ศ. 2560 ที่สมัครใจเข้าร่วมการฝึกรูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ใช้วิธีการจับคู่รายชื่อผู้สูงอายุ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกรูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกกิจกรรมงานประดิษฐ์ จำนวน 20 คน ในการฝึกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 8 ครั้งในช่วงวันและเวลาเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิต และแบบวัดความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิต ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับข้อคำถาม อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)
ผลวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่มีความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตที่ได้รับการฝึกรูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิต มีความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตลดลงเมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมการฝึกรูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้สูงอายุที่มีความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตที่ได้รับการฝึกรูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิต มีความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตต่ำกว่าผู้สูงอายุที่ไม่รับการฝึกรูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ABSTRACT
The purpose of this research was to study the outcome of a stress management program for life crisis of older people. The sample group was 40 older people at Watsanawet Social Welfare Development Center in 2017. They had life crisis stress and voluntarily participated in the stress management program for life crises of older adults. Matched sampling was used to assign participants to an experiment and a control groups. Totally, each group consisted of 20 members. The participants in the experimental group practiced the stress management program for life crisis, while the control group joined craft activity, on the same day and same time for eight days. The research instruments were stress management program for life crisis and a life crisis stress questionnaire. The Index of Item-objective congruence (IOC) between objectives and questions was 0.67 – 1.00, and the Cronbach’s alpha coefficient was 0.96. The data were analyzed with t–test and ANCOVA.
The research findings showed that the life crisis stress of the older people after practicing the stress management program was decreased significantly in comparison to before at a .01 level of significance. Additionally, the older people who practiced the stress management program had lower level of life crisis stress comparing to those of the control group with the statistical significance level of .01.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr17.pdf