ผลทางกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษต่อการกักขังแทนค่าปรับ

Titleผลทางกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษต่อการกักขังแทนค่าปรับ
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsกฤษณ์ วงศ์วิเศษธร, KRITZ WONGVISADETHORN
Secondary Authorsกันตพิชญ์ อินชมพู, KUNTAPITCH INCHOMPOO
Volume9
Issue2
Keywordsconfinement in lien, fine, general principle of constitutional law, royal pardon decree, การกักขังแทนค่าปรับ, พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ, หลักทั่วไปทางรัฐธรรมนูญ, โทษปรับ
Abstract

บทคัดย่อ
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษมีผลทำให้ผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับได้รับการปล่อยตัว แต่ไม่เป็นการลบล้างโทษปรับที่ได้รับตามคำพิพากษา เนื่องจากเป็นมาตรการเสริมที่กฎหมายกำหนดให้ศาลสามารถนำมาใช้ได้ตามมาตรา 30 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับแต่ไม่มีทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องอื่นใดในอันที่จะชำระค่าปรับได้ รัฐย่อมมีอำนาจในการบังคับให้มีการชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้
บทความนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาที่ตามมาภายหลังจากผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับได้รับการอภัยโทษแต่ไม่มีทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องอื่นใดในการชำระค่าปรับได้ ข้อปัญหาที่สำคัญคือ ศาลจะสามารถสั่งกักขังแทนค่าปรับได้อีกหรือไม่และเพียงใดหากไม่มีการชำระค่าปรับ
ผลจากการศึกษาพบว่า การตีความให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและการตราพระราชกฤษฎีกาในการพระราชทานอภัยโทษนั้น ศาลไม่สามารถมีคำสั่งกักขังแทนค่าปรับได้อีก ทำได้แต่เพียงการสั่งให้ทำงานบริการสังคมหรือทำสาธารณะประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น

ABSTRACT
The royal pardon decree has consequence to remit offenders who incarcerated from confinement in lien. However, a remaining fine under the judgment is not revoked. The confinement in lien is an additional measure prescribed in section 30 of the Criminal Code, in case the offender fails to pay the fine or have no property or other right of claim to be seized to pay for the fine. The government has power to force the payment according to the judgment.
This article aimed to study problems after emancipation from incarceration by an effect of royal pardon and still have no property or other right of claim to pay the remaining fine. Whether the court has the power to order the offender to carry out confinement in lien and, if yes, how much of a prison sentence must be served.
The result of this study revealed that to interpret according to the spirit of the constitution and the royal decree establishment, the court has no power to impose a confinement in lien on offenders again and the court can only give a measure to the defendant to provide community service or public contribution as prescribed in the Criminal Code.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr19.pdf