การเรียนรู้แบบสืบเสาะ: กระบวนการเรียนรู้เพื่อปฏิรูปชั้นเรียน

Titleการเรียนรู้แบบสืบเสาะ: กระบวนการเรียนรู้เพื่อปฏิรูปชั้นเรียน
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2561
Authorsยุวพร ดวงศรี, YUWAPHORN DUANGSRI
Secondary Authorsบุญสม ทับสาย, BOONSOM TUBSAI
Volume9
Issue2
Keywordscritical thinking, enquiry-based learning, information communication and media literacy, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ, การเรียนรู้แบบสืบเสาะ
Abstract

บทคัดย่อ
สื่อสังคมและสังคมสารสนเทศ เป็นยุคที่สื่อมีผลกระทบอย่างแท้จริงต่อวิถีชีวิตของบุคคล การศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับผู้เรียนตั้งแต่ในวัยเยาว์ คือ การเรียนการสอนที่สามารถพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพของผู้เรียน อาทิ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ การเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Enquiry Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการเสาะแสวง และการตั้งคำถามจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกความจริง กระบวนการจัดการเรียนรู้นี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการคิด การใช้เหตุผล และการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอแนวคิดและกระบวนการของการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน พร้อมเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ประยุกต์กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนประถมศึกษา

ABSTRACT
Social media and the information society is an era in which media has a real impact on people’s lives. The quality education is one of the important tools for improving people’s lives and sustainable development. Implementation of quality instruction from a young age can develop important and essential skills for quality living of learners. The skills include critical thinking, problem solving, information communications, and media literacy. Enquiry-based learning is student-centered learning approach which enables students to construct their own knowledge through the process of enquiry and to question about real-world events. The enquiry-based learning enhances students thinking skills, reasoning and decision for problem-solving. This article aimed to suggest the concept and process of enquiry-based learning to be a guidelines for instructional development and to propose the instructional guidelines applying enquiry-based learning process for enhancing primary students’ critical thinking skills.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.2jssr21.pdf