การบริหารวิชาการที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Titleการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsกรกมล ทองยอด, KORNKAMON TONGYOD
Secondary Authorsพรศักดิ์ สุจริตรักษ์, PORNSAK SUCHARITRAK
Volume10
Issue1
Keywordsacademic administration promoting thinking skills, การบริหารวิชาการที่ส่งเสริมทักษะการคิด
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน 2) เปรียบเทียบระดับการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน จำแนกตามตำแหน่งผู้ให้ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวนรวม 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์
ความแปรปรวน กรณีเมื่อพบความแตกต่างจะนำไปทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
รายด้าน พบว่า การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น การส่งเสริมความรู้
ด้านวิชาการแก่ชุมชน และการแนะแนวอยู่ในระดับมากที่สุด การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ การนิเทศการศึกษา การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก และ 2) การบริหารวิชาการที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำแนกตามตำแหน่งผู้ให้ข้อมูล โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า แตกต่างกันทุกด้าน

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) study the level of academic management promoting students' thinking skills; 2) compare the levels of academic administration promoting students' thinking skills as classified by informants’ position. The sample was derived by stratified random sampling, including administrators of educational institutions, academic teachers, and teachers under the jurisdiction of the Office of Ratchaburi Primary Educational Service Area 1, totaling 369 persons. The instrument for data collection was a
5-rating scale questionnaire with the reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and one-way analysis of variance. When the differences were found, Scheffe method for paired-comparison was used.
The research results were as follows: 1) overall, the academic administration promoting the thinking skills of students is at a high level. When considering each aspect, it was found that the aspects of cooperation in academic development with other educational institutions, promotion of academic knowledge to community, and guidance were at the highest level. The aspects of research for quality development; education supervision; media, innovation and technology development; development of quality assurance system within educational institutions; assessment, evaluation and transfer of results; learning resources development; learning process development, and curriculum development in educational institutions were at a high level. 2) Overall and specific aspects, the academic administration promoting thinking skills of students in educational institutions under the jurisdiction the Office of Ratchaburi Educational Service Area 1, classified by informants’ position was found different in all aspects.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.1jss1.pdf