ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านคลองสามแพรก ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

Titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านคลองสามแพรก ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsแก้วจรรยา คงนุ่น, KAEWJANYA KONGNOON
Secondary Authorsสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ, SOMBOON SIRISUNHIRUN
Volume10
Issue1
KeywordsKlong Sam Phraek Village, Samut Prakan Province, successful factor, sufficiency economy village, จังหวัดสมุทรปราการ, ปัจจัยความสำเร็จ, หมู่บ้านคลองสามแพรก, หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยวิธีผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสำเร็จในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านคลองสามแพรก จำนวน 365 ครัวเรือน และผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเศรษฐกิจพอเพียง รวม 5 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า 1) ความสำเร็จในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านจิตใจและสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน เพื่อพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบพบว่ามีตัวแปรอิสระ 2 ตัว จากทั้งหมด 5 ตัวแปรอิสระที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จ ในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ได้แก่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการมีส่วนร่วม โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ได้ร้อยละ 53.60 โดยมีสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ คือ Ŷ = 1.729 + .286 (X5) + .279 (X3) และมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Ẑ = .468 (Z5) + .331 (Z3)

ABSTRACT
This mixed-method research aimed to study: 1) the implementation success of sufficiency economy model village; and 2) factor influencing the implementation success of sufficiency economy model village. The sample consisted of 365 household headships in Khlong Sam Phraek Village and 5 key informants of community leaders and officers responsible for sufficiency economy implementation. The research instruments were a questionnaire and an in-depth interview. Data were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, stepwise multiple regression, and content analysis.
The results of the study were as follows: 1) overall the implementation success of sufficiency economy model village was at a high level. Specifically, the mental and social aspect had the highest average. 2) According to multiple regression analysis, the two from five independent variables could predict the success implementation of sufficiency economy model village. The aspects of technological application and participation together predicted the success implementation of sufficiency economy model village at the percentage of 53.60 with statistical significance at the 05 level. The raw score equation was Ŷ = 1.729 + .286 (X5) + .279 (X3) and the standard score equation was Ẑ = .468 (Z5) +.331 (Z3).

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.1jss2%281%29.pdf