คุณลักษณะของผู้บริหารและทัศนคติต่อวิชาชีพของครูที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในสถานศึกษาของชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Titleคุณลักษณะของผู้บริหารและทัศนคติต่อวิชาชีพของครูที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในสถานศึกษาของชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsธัญวรรณ รักซ้อน, THUNYAWAN RUKSORN
Volume10
Issue1
Keywordsadministrator’s attribute, community participation in school, teacher’s professional attitude, การมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน, คุณลักษณะของผู้บริหาร, ทัศนคติต่อวิชาชีพครู
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของผู้บริหารและทัศนคติต่อวิชาชีพของครูในสถานศึกษาของชุมชน 2) การมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในสถานศึกษาของชุมชน และ 3) อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้บริหารและทัศนคติต่อวิชาชีพของครูที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในสถานศึกษาของชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 123 คน ครูผู้สอน จำนวน 310 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 123 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ตำแหน่งเป็นชั้นภูมิในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ภูมิหลังทางสังคม ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน ลักษณะทางสังคม สติปัญญาและความสามารถ ลักษณะทางกายภาพ และบุคลิกภาพ และทัศนคติต่อวิชาชีพของครูในสถานศึกษาในภาพรวมมีทัศนคติทางบวกอยู่ในระดับมาก
2. การมีส่วนร่วมชองชุมชนในการจัดการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
3. ตัวแปรคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาและทัศนคติต่อวิชาชีพของครูที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในสถานศึกษาของชุมชน ในภาพรวม (Ytot) ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสมการตามลำดับขั้นตอน คือ ด้านสติปัญญาและความสามารถ (X1.3) และทัศนคติต่อวิชาชีพของครู (X2) ตัวแปรที่ถูกคัดเลือกดังกล่าว สามารถร่วมกันทำนายการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในสถานศึกษาของชุมชน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าประสิทธิภาพในการทำนาย (R2) มีค่าเท่ากับ 0.30 ซึ่งแสดงว่าคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาด้านสติปัญญาและความสามารถและทัศนคติต่อวิชาชีพของครู ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในสถานศึกษาของชุมชน และสามารถร่วมทำนายการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในสถานศึกษาของชุมชน ได้ร้อยละ 30
โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้
สมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปของคะแนนดิบ คือ
Y ̂tot = 0.68 + 0.42(X1.3) + 0.38(X2)
สมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปของคะแนนมาตรฐาน คือ
Z ̂ tot = 0.683 + 0.36(Z1.3) + 0.26(Z2)

ABSTRACT
The purpose of this study were to examine: 1) the school administrators’ attributes and professional attitude of teachers in community schools; 2) the community participation in educational management; and 3) the influence of school administrators’ attributes and teachers’ professional attitude on the community participation in educational management. The sample consisted of 123 administrators, 310 teachers, and 123 chairmen of school boards of schools under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1. The sample was derived by stratified random sampling as distributed by positions. The data collection instrument was a questionnaire with the reliability of 0.86. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.
The research results were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the school administrators’ attributes was at a high level. The aspects raking in the descending order were social background, job style, social attributes, intellect and ability, physical characteristics, and personality. Overall, the teachers’ professional attitude was at a highly positive level.
2. Overall and specific aspects, the community participation in school management was at a high level. The aspects in the descending order were participation in benefits, participation in evaluation, participation in operation, and participation in decision-making.
3. Overall, the school administrators’ attributes in the aspects of intellect and ability (X1.3) and teachers’ professional attitudes (X2) had an influence on and together predicted the community participation in educational management (Ytot) with the statistical significance at .01 level. According to that relationship, the coefficient of prediction (R2) was 0.30. These showed that the school administrators’ attributes in the aspects of intellect and ability and teachers’ professional attitudes together predicted the community participation in educational management at 30 percent.
The prediction equations were as follows:
The regression equation for raw score was
Y ̂tot = 0.68 + 0.42(X1.3) + 0.38(X2)
The regression equation for standard score was:
Z ̂ tot = 0.683 + 0.36(Z1.3) + 0.26(Z2)

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.1jss6.pdf