วิธีจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารที่มีผลกับความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

Titleวิธีจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารที่มีผลกับความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsสุภรณ์ ทับทิมทอง, SUPORN THABTHIMTHONG
Secondary Authorsนิมิตร มั่งมีทรัพย์, NIMITR MUNGMEESUP
Volume10
Issue1
Keywordsadministrator’s conflict management, school attachment, ความผูกพันต่อสถานศึกษา, วิธีจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิธีจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา และ 3) อิทธิพลของวิธีจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรในสถานศึกษา รวม 313 คน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารจัดการความขัดแย้งในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ วิธีประนีประนอม วิธียอมให้ วิธีร่วมมือ วิธีเอาชนะ และวิธีหลีกเลี่ยง 2) ความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาสมาชิกภาพของตนในสถานศึกษาไว้ ความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำงานเพื่อสถานศึกษา และความเชื่อถือยอมรับเป้าหมายและค่านิยมของสถานศึกษา 3) อิทธิพลของวิธีจัดการความขัดแย้งแบบวิธีประนีประนอม ส่งผลต่อความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษาทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านความเชื่อถือยอมรับเป้าหมายและค่านิยมของสถานศึกษา ด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำงานเพื่อสถานศึกษา ด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรักษาซึ่งสมาชิกภาพของตนในสถานศึกษาไว้ ส่วนวิธีจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีหลีกเลี่ยงส่งผลต่อความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ด้านความเชื่อถือยอมรับเป้าหมายและค่านิยมของสถานศึกษา โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันทำนายความผูกพันต่อสถานศึกษาของครูและบุคลากรในสถานศึกษาได้ร้อยละ 46.00

ABSTRACT
The purposes of this research were to study: 1) the school administrators’ conflict management; 2) the school attachment of teachers and personnel in schools; and 3) the school administrators’ conflict management affecting the school attachment of teachers and personnel in schools. The sample was 313 school administrators, teachers, and personnel in schools under the Secondary Educational Service Area Office 8, derived by stratified random sampling. The instrument was a 5-scale rating questionnaires approved by 3 experts with content validity between 0.67–1.00 and the reliability of .96. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation analysis, and step-wise multiple regression analysis.
The research results were as follows: 1) Overall the administrators’ conflict management was at a high level. The aspects in the descending order of average were compromising styles, accommodation styles, collaboration styles, competition styles, and avoiding styles. 2) Overall the school attachment of teachers and personnel was at a high level. The aspects in the descending order of average were strong desire to maintain their membership in schools, willingness to use great effort to work for the school, and feeling of trust in goals and values of the school. 3) The administrators’ conflict management in the aspect of compromising styles affected all aspects of school attachment of teachers and personnel with statistical significance level of .01, which were feeling of trust in goals and values of the school, willingness to use great effort to work for the school, strong desire to maintain their membership in schools. The administrators’ conflict management in the aspect of avoiding styles affected the school attachment of teachers and personnel in school in the aspect of feeling of trust in goals and values of the school. All aspects together predicted the school attachment of teachers and personnel in school at the percentage of 46.00.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.1jss15.pdf