ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี

Titleปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsทวีศักดิ์ ธาตุชัย, TAWEESAK THATCHAI
Secondary Authorsนวัตกร หอมสิน, NAWATTAKORN HOMSIN
Tertiary Authorsประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์, PRAPORNTIP KUNAGORNPITAK
Volume10
Issue1
Keywordsadministrative factor, forecast equation, sufficiency school, ปัจจัยทางการบริหาร, สถานศึกษาพอเพียง, สมการพยากรณ์
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยทางการบริหาร 2) ระดับการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 255 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มี 2 ฉบับ คือ แบบสอบถามปัจจัยทางการบริหาร และแบบสอบถามการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับเท่ากับ .956 และ .968 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยทางการบริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก
2. การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน โดยภาพรวมและแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. สมการพยากรณ์ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี พบว่ามี 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการสื่อสาร ด้านครู ด้านทักษะการบริหารจัดการ และด้านวัฒนธรรมองค์การ เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .776 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 60.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์ที่สร้างขึ้น เป็นดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ
"Y" ̂ = 1.372 + .147(X6) + .144(X3) + .154(X1) + .141(X5) + .125(X4)
สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
"Z" ̂ = .201(X6) + .202(X3) + .231(X1) + .187(X5) + .194(X4)

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) study the level of administrative factors; 2) study the level of sufficiency school management in schools; 3) identify the relationship between administrative factors and sufficiency school management; and 4) create a predictive equation of administrative factors affecting sufficiency school management in schools under the Office of Udon Thani Primary Educational Service Area. The sample consisted of 255 schools administrators, derived by stratified random sampling. The research instrument was two 5 level-rating scale questionnaires. The reliability for the administrative factors was .956 and for the sufficiency school management in schools was .968. The statistics employed in data analysis were mean, percentage, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The results were as follows:
1. Overall, the administrative factors was at a high level. When considering each factor, the aspects were found at the highest and a high level.
2. Overall, the sufficiency school management was at a high level. When considering each factor, all factors were at the highest level.
3. The administrative factors and sufficiency school management in schools had positive relationship with statistical significance at .01 level.
4. Regarding the predictive equation of the administrative factors affecting sufficient school management in schools under the Office of Udon Thani Primary Educational Service Area, five administrative factors in aspects of information technology application, communication, teachers, management skills, and organizational culture were found the best predators. The correlation coefficient was at .776. The forecast was at the percentage of 60.20 with statistical significance at.01 level. The equations were as follows:
For raw scores:
"Y" ̂ = 1.372 + .147(X6) + .144(X3) + .154(X1) + .141(X5) + .125(X4)
For standard scores:
"Z" ̂ = .201(X6) + .202(X3) + .231(X1) + .187(X5) + .194(X4)

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.1jss20%281%29.pdf