พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

Titleพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2560
Authorsกุลธิดา สิทธิมงคล, KUNTHIDA SITTHIMONGKON
Secondary Authorsนภาเดช บุญเชิดชู, NAPADECH BOONCHERDCHOO
Tertiary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Volume8
Start Page7
Issue1
Keywordsadministrative behavior, ASEAN community, school administration and development, secondary education, การบริหารและพัฒนาสถานศึกษา, ประชาคมอาเซียน, พฤติกรรมการบริหาร, มัธยมศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับการบริหารและพัฒนาสถานศึกษาพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน และ 3) วิเคราะห์พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารและพัฒนาสถานศึกษาพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 313 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอในจังหวัดนครปฐมและสุพรรณบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร อยู่ระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การปฏิสัมพันธ์หรืออิทธิพล เป้าหมายการปฏิบัติงาน การเป็นผู้นำการตัดสินใจ การตั้งเป้าหมาย การสื่อสาร การจูงใจ และการควบคุม
2. การบริหารและพัฒนาสถานศึกษาพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน อยู่ระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ผู้บริหารมีภาวะผู้นำทางวิชาการ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการคุณภาพ และผู้บริหารมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร ประกอบด้วย การตัดสินใจ เป้าหมายการปฏิบัติงานการเป็นผู้นำ การสื่อสาร และการตั้งเป้าหมาย เป็นปัจจัยส่งผลต่อการบริหารและพัฒนาสถานศึกษาพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 89 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the level of school administrators’ administrative behavior; 2) study the level of school administration and development for readiness to ASEAN community; and 3) analyze administrators’ administrative behavior affecting school administration and development for readiness to ASEAN community. The research samples were 313 teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office 9, derived by proportional stratified random sampling distributed by districts in Nakhon Pathom and Suphan Buri Province. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, administrators’ administrative behavior was at a high level, respectively ranked from the highest to the lowest as follows: interaction or influence, performance goals, leadership, decision making, goal setting, communication, motivation, and control.
2. Overall and in specific aspects, school administration and development for readiness to ASEAN community was at a high level, respectively ranked from the highest to the lowest as follows: school administrators’ clear vision for educational management for ASEAN community, school administrators’ academic leadership, school administrators’ capabilities of quality management, school administrators’ English Language Proficiency (ELP) used for Basic Interpersonal Communication Skills (BICS), and school administrators’ competencies in utilizing Information and Communication Technology (ICT).
3. Administrators’ administrative behavior in the aspects of decision making, performance goals, leadership, communication, and goal setting together predicted school administration and development for readiness to ASEAN community at the percentage of 89 with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/3.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%208%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%201%20%288.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201%29.pdf