ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Titleความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsกฤตัชญ์ สุริยนต์, KRITTAS SURIYONT
Secondary Authorsภารดี อนันต์นาวี, PARADEE ANANNAWEE
Tertiary Authorsเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, CHAROENWIT SOMPONGTAM
Volume10
Issue2
Keywordsschool effectiveness, teacher’s happiness at work, ความสุขในการทำงานของครู, ประสิทธิผลของโรงเรียน
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย 4) ศึกษาความสุขในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย และ 5) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวน 278 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ด้านความสุขในการทำงานของครู 0.91 และด้านประสิทธิผลของโรงเรียน 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ความสุขในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสุขในการทำงานของครูส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสุขในการทำงานของครู ด้านการติดต่อสัมพันธ์ (X1) ด้านความรักในงาน (X2) ด้านการเป็นที่ยอมรับ (X4) ของครูสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผล ได้ร้อยละ 53.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Ŷ = .405 + .443(X1) + .252(X2) + .133(X4)

ABSTRACT
The aims of this research were to: 1) study the level of teachers’ happiness at work in schools affiliated with Suankularb Wittayalai; 2) study the effectiveness of schools affiliated with Suankularb Wittayalai; 3) study the relationship between the teachers’ happiness at work and the effectiveness of the schools affiliated with Suankularb Wittayalai; 4) study the teachers’ happiness at work affecting the effectiveness of schools affiliated with Suankularb Wittayalai; and 5) create the predictive equation for school effectiveness. The sample group consisted of 278 teachers in schools affiliated with Suankularb Wittayalai, obtained by proportionate sampling method. The research instruments were questionnaires constructed by the researcher with the content validity between 0.60 and 1.00. The reliability coefficients of the questionnaire were 0.91 for teachers’ happiness at work and 0.93 for school effectiveness. Data were analyzed with mean, standard deviation, correlation coefficients, and stepwise multiple regression.
The findings of this research were as follows:
1) Overall and in specific aspect, the teachers’ happiness at work in schools affiliated with Suankularb Wittayalai was at a high level.
2) Overall and in specific aspect, the effectiveness of schools affiliated with Suankularb Wittayalai was at a high level.
3) Overall the teachers’ happiness at work had positive relationship with the effectiveness of schools affiliated with Suankularb Wittayalai at a high level with statistical significance level of .01.
4) The teachers’ happiness at work affected the effectiveness of schools affiliated with Suankularb Wittayalai with statistical significance level of .01.
5) The teachers’ happiness at work in the aspects of connection (X1), love of work (X2), and recognition (X4) together predicted the effectiveness of schools affiliated with Suankularb Wittayalai at 53.20 percent with statistical significance of .01. The regression analysis equation was: Ŷ = .405 + .443 (X1) + .252 (X2) + .133 (X4).

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.2jssr1%283%29.pdf