สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดนครปฐม

Titleสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดนครปฐม
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsปวีณา รอดเจริญ, PAWEENA ROTCHAROEN
Secondary Authorsพรศักดิ์ สุจริตรักษ์, PHORNSAK SUCHARITRAK
Volume10
Issue2
Keywordsadministrator’s competency, school effectiveness, ประสิทธิผลของสถานศึกษา, สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม จำนวน 313 คน ซึ่งได้มาโดยการวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบตามลำดับขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการบริการที่ดี
2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมและจำแนกรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความพึงพอใจในการทำงาน ด้านความมุ่งมั่นในชีวิต ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านความสามารถในการปรับตัว
3. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลองค์การได้ร้อยละ 53.20 มีตัวแปรที่สามารถทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษาคือ การมีวิสัยทัศน์ การพัฒนาตนเอง การบริการที่ดี การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การคิดวิเคราะห์ และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยสามารถเขียนสมการทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ คือ Ytot = 1.919 + 0.128(X8) + 0.359(X3) – 0.186(X2) + 0.299(X7) – 0.167(X5) + 0.121(X1)

ABSTRACT
The purposes of this research were to study: 1) the school administrator’s competencies, 2) the effectiveness of school, and 3) the administrator’s competencies affecting the effectiveness of schools under the Nakhon Pathom Secondary Education Service Area Office 9. The sample was 313 school administrators and teachers who worked in the schools under the Nakhon Pathom Secondary Educational Service Area Office 9, derived by stratified random sampling. The instrument used for data collection was a 5 rating-scale questionnaire with the content validity between 0.67 and 1.00 and reliability coefficient of .98. The statistics used for data analysis were percentages, means, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, and multiple regression analysis.
The findings of the research were as follows:
1. Overall and in specific aspect, the competencies of school administrators under the Office of Nakhon Pathom Secondary Education Service Area 9 was at a high level. The aspects, ranking from the highest to the lowest average, were personnel development, analytic and synthetic thinking, vision, communication and motivation, teamwork, achievement orientation, self-development and good service.
2. Overall and specific aspect, the effectiveness of schools under the Office of Nakhon Pathom Secondary Education Service Area 9, was at a high. The aspects, ranking from the highest to the lowest average, were work satisfaction, life intention, learning achievement, and adaptability.
3. The school administrators’ competencies affecting the effectiveness of schools under the Office of Nakhon Pathom Secondary Education Service Area 9 with statistical significance at .01. The variance of organizational effectiveness could be explained at the percentage of 53.20. The factors that could predict the effectiveness of schools were vision, self-development, good service, personnel development, analytical thinking, and achievement orientation. The equation was Ytot = 1.919 + 0.128(X8) + 0.359(X3) – 0.186(X2) + 0.299(X7) – 0.167(X5) + 0.121(X1).

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.2jssr5.pdf