สภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม

Titleสภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsเพ็ญประภา เที่ยงตรง, PENPRAPA TIANGTRONG
Secondary Authorsพรศักดิ์ สุจริตรักษ์, PHORNSAK SUCHARITRAK
Volume10
Issue2
KeywordsASEAN community, information technology, operating condition, ประชาคมอาเซียน, สภาพการดำเนินงาน, เทคโนโลยีสารสนเทศ
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม และ 2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม จำนวน 1,547 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้วิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ และด้านความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และชุมชน 2) สภาพการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม ที่มีขนาดต่างกัน มีการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อใช้วิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD พบว่า สถานศึกษาขนาดใหญ่มีการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก และขนาดกลาง ขณะที่สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนน้อยกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) explore the operating condition of information technology for entering ASEAN Community of the schools under the Office of Nakhon Pathom Secondary Educational Service Area 9; and 2) compare the operating condition of information technology for entering ASEAN Community of the schools under the Office of Nakhon Pathom Secondary Educational Service Area 9 as classified by school size. The population was 1,517 school administrators and teachers from small, medium, large, and extra-large sized schools under the Office of Nakhon Pathom Secondary Educational Service Area 9. The sample of 310 was selected by stratified random sampling technique. The research instrument was a questionnaire about operating conditions of information technology for entering ASEAN community with the reliability of 0.98. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, one way analysis of variance, and least-significant difference test for multiple comparisons.
The research results showed that: 1) overall the operating condition of information technology for entering ASEAN Community of the schools under the Office of Nakhon Pathom Secondary Educational Service Area 9 was at a high level. When considering each aspect, all aspects were at a high level. The aspects, ranked in the descending order, were learning process, infrastructure, internal management and administration, teaching and learning management, learning resource, and collaboration of government, private sector and community. 2) Overall and in specific aspect, the operating condition of information technology for entering ASEAN Community of the schools under the Office of Nakhon Pathom Secondary Educational Service Area 9 was significantly different according to school size at the level of .05. When comparing through least-significant difference test, it was found that the large schools operated on information technology for entering the ASEAN community higher than small and medium schools; while the extra-large schools had operated information technology lower than the large schools.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.2jssr6.pdf