ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลการสื่อสารภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Titleความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลการสื่อสารภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsสุฑาทิพย์ มณีรัตนเลิศวานิช, SUTHATHIP MANEERATTANALERDVANID
Secondary Authorsนิมิตร มั่งมีทรัพย์, NIMITR MUNGMEESUP
Volume10
Issue2
Keywordscommunication in school, emotional intelligence, การสื่อสารภายในสถานศึกษา, ความฉลาดทางอารมณ์
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ผลการสื่อสารภายในสถานศึกษา และ 3) อิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลการสื่อสารภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 440 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 123 คน ครูผู้สอน 317 คน ที่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การจูงใจตนเอง การจัดการกับอารมณ์ของตนเอง การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น การตระหนักรู้ในอารมณ์ตนเอง และการมีทักษะทางสังคม
2. ผลการสื่อสารภายในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา การหล่อหลอมของสถานศึกษา บรรยากาศในการสื่อสาร การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการตามแนวนอน คุณภาพของสื่อที่ใช้สื่อสารในสถานศึกษา ข้อมูลป้อนกลับรายบุคคล ภาพรวมของสถานศึกษา และการสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชา
3. อิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาด้าน การตระหนักรู้ในอารมณ์ตนเอง (X1) การมีทักษะทางสังคม (X5) การจัดการกับอารมณ์ของตนเอง (X2) ส่งผลต่อผลการสื่อสารภายในสถานศึกษาในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ตัวแปรทั้งสามสามารถร่วมกันทำนายผลของการสื่อสารในสถานศึกษาได้ร้อยละ 28.2 ดังนี้
Ytot = 1.365 + 0.249(X1) + 0.194(X5) + 0.202(X2)
Ztot = 0.239(X1) + 0.244(X5) + 0.199(X2)

ABSTRACT
The purposes of this research were to study: 1) the emotional intelligence of school administrators under Office of Ratchaburi Educational Service Area 1; 2) the effectiveness of communication in school under Office of Ratchaburi Educational Service Area 1; and 3) the administrations’ emotional intelligence affecting the effectiveness of communicated in school under Office of Ratchaburi Educational Service Area 1. The sample was 123 administrators and 317 teachers 440 derived by stratified random sampling. The research instrument was a 5-scale questionnaire with the reliability of 0.93. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression for hypothesis testing.
The research results were as follows:
1. Overall the administrators’ emotional intelligence were at the highest levels. The aspects, in the descending order, were self-motivation, self-control, perception of others, self-awareness, and social skills.
2. Overall the communication effectiveness in schools were at the highest levels. The aspects, in the descending order, were communication with supervisors, school socialization, communication climate, horizontally informal communication, quality of communication media, individual feedback, school overview, and communication with subordinates.
3. The administrators’ emotional intelligence in aspects of self-awareness (X1), social skills (X5), and self-control (X2) affected the effectiveness of communication in school at the .01 level of significance. All three variables could predicted the effectiveness of the communication in school at the percentage of 28.2. The equation was as follows:
Ytot = 1.365 + 0.249(X1) + 0.194(X5) + 0.202(X2)
Ztot = 0.239(X1) + 0.244(X5) + 0.199(X2)

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.2jssr7%281%29.pdf