คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Titleคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2562
Authorsอุมาพร ธรรมประเสริฐ, UMAPORN THAMAPRASERT
Volume10
Issue2
Keywordscharacteristics of school administrator, effectiveness of academic administration in school, คุณลักษณะของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการบริหารวิชาการในสถานศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชุบรี เขต 1 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชุบรี เขต 1 และ 3) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 492 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ คุณลักษณะทางสังคมบุคลิกภาพ คุณลักษณะที่เกี่ยวกับงาน คุณลักษณะทางกาย สติปัญญาและความสามารถ และภูมิหลังทางสังคม
2. ประสิทธิผลการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ การกำหนดภารกิจของโรงเรียน การจัดการด้านการเรียนการสอน และการเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียน
3. คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านสติปัญญาและความสามารถ ด้านบุคลิกภาพร่วมส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารวิชาการ ได้ร้อยละ 99.10 สามารถเขียนเป็นสมการดังนี้
Y = -.046 + .197(X3) + .057(X4)
Z Y = .238(X3) + .051(X4) - .245(X2) + 0.454(X5) - .929(X6)

ABSTRACT
The research aimed to study: 1) the characteristics of school administrators under the Office of Ratchaburi Primary Educational Service Area 1; 2) the effectiveness of academic administration in schools under the office of Ratchaburi Primary Educational Service Area 1; and 3) the characteristics of school administrators affecting the effectiveness of academic administration in schools under the Office of Ratchaburi Primary Educational Service Area 1. The sample was 492 school directors, head of academic department, teachers, and school committee, derived by stratified random sampling. The instrument used for data collection was a 5-scale questionnaire with the reliability of 0.97. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, and multiple regression.
The research findings were as follows:
1. Overall the characteristics of school administrators under the Office of Ratchaburi Primary Educational Service Area 1 was at a high level. The aspects, in the descending order, were social characteristics, personality, task-related characteristics, physical characteristics, intellectual skill and ability, and social background and socio-economic status.
2. Overall the effectiveness of academic administration in schools under the Office of Ratchaburi Primary Educational Service Area 1 was at a high level. The aspects, in the descending order, were defining the school mission, managing the instructional program, and promoting school climate.
3. The characteristics of school administrators in the aspects of intellectual skill and ability, and personality affected the effectiveness of academic administration in schools; and together predicted the effectiveness of academic administration at the percentage of 99.10. The equation was as follows:
Y = -.046 + .197 (X3) + .057(X4)
Z Y = .238(X3) +.051(X4) -.245(X2) + 0.454(X5) -.929(X6)

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/10.2jssr10%282%29.pdf