ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Titleปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2560
Authorsคมสัน รักกุศล, KHOMSAN RUKKUSON
Secondary Authorsธีรวุธ ธาดาตันติโชค, THEERAWOOT THADATONTICHOK
Tertiary Authorsโยธิน ศรีโสภา, YOTHIN SRISOPA
Volume8
Start Page30
Issue1
Keywordsdual vocational training, vocational education institutes, vocational educational, การอาชีวศึกษา, สถานศึกษาอาชีวศึกษา, อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลและประเภทสถานศึกษาอาชีวศึกษา และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาและครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาอาชีวศึกษา ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 257 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือด้านการดำเนินงานระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการอย่างเป็นระบบ และด้านคุณลักษณะผู้เรียน ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เมื่อจำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษาขั้นสูงสุด ประสบการณ์การทำงานในสถานศึกษาอาชีวศึกษา และการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ และประเภทของสถานศึกษาอาชีวศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรกำหนดบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจน ให้ความสำคัญกับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้มากขึ้นโดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ใช้เกณฑ์การประเมินผลการเรียนที่ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะและตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาและสถานประกอบการ จัดทำหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ คุณลักษณะผู้เรียนต้องมีทักษะวิชาชีพในสาขาที่เรียน มีความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมีจิตบริการ

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) study the levels of factors on supporting the Dual Vocational Training (DVT) system; 2) compare the factors on supporting the Dual Vocational Training (DVT) system as classified by personal factors and type of vocational institutes; and 3) recommend guidelines for developing dual vocational Training (DVT) system of vocational institutes. The sample group was 257 vocational institutes’ administrators and teachers as distributed by type of vocational institutes, derived by proportional stratified random sampling. The research instrument used for collecting data was a questionnaire constructed by the researcher. The statistics employed for data analysis comprised percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance and content analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the levels of factors on supporting this DVT system were at a high level. Considering each aspect, management of the Dual Vocational Training (DVT) system was at the highest level, followed by operations between the vocational institutes and the apprenticeship training organizations and students’ characteristics respectively.
2. The administrators and teachers with differences in position, highest educational level, work experience in vocational institutes, and performance related to Dual Vocational training system difficulty supported the Dual vocational training (DVT) system with the statistical significance at .05. However, there was no statistical difference among these with differences in gender and vocational institute types.
3. Guideline for development of Dual Vocational Training (DVT) system consists of five main components; the clear determination of the stakeholders roles stakeholders; the emphasis of the Dual Vocational Training (DVT) as a national agenda; the application of evaluation criteria with covered knowledge, skills and desirable characteristics of vocational institutes and the apprenticeship training organizations; the development of vocational competency-based curriculum; and the training of students to develop vocational skills and work ethics.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/4.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%208%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%201%20%288.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202%29.pdf