บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

Titleบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2560
Authorsลัดดาวัลย์ อินทโชติ, LADDAWAN INTACHOT
Secondary Authorsนภาเดช บุญเชิดชู, NAPADECH BOONCHERDCHOO
Tertiary Authorsจิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, JITTIRAT SAENGLOETUTHAI
Volume8
Start Page71
Issue1
KeywordsASEAN community, development strategy, school administrators’ role, secondary education, บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, ประชาคมอาเซียน, มัธยมศึกษา, ยุทธศาสตร์การพัฒนา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การดูงานประเทศอาเซียน และขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามจังหวัด และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ และเจตคติในการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนแก่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่ความเป็นอาเซียน การส่งเสริมและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่าย
2. ระดับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การดูงานประเทศอาเซียน และขนาดของสถานศึกษา พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางในการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน มีดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูและนักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน เปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีส่วนร่วมศึกษาดูงานในสถานศึกษาเครือข่ายอาเซียน และพัฒนานวัตกรรมอาเซียนศึกษา

ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the level of school administrators’ roles in promoting the operation of school development strategies for the ASEAN Community; 2) compare the level of school administrators’ roles in promoting the operation of school development strategies for the ASEAN Community as classified by educational level, work experiences, field trip exposures, and school sizes; and 3) study the guidelines for developing the administrators’ roles in promoting the operation of school development strategies for the ASEAN Community. The research sample was divided into two groups: 346 administrators and teachers under the Secondary Educational Service Area Office 9, derived by proportional stratified random sampling which distributed by province, and 14 administrators and teachers, derived by purposive sampling. The research instruments were a questionnaire and an interview form constructed by the researcher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and content analysis.
The findings of this research were as follows:
1. Overall the administrators’ roles in promoting the operation of development strategies for the ASEAN Community of schools were at a high level. When considering each aspect, they were in the descending order as follows: promoting and enhancing English language ability; creating favorable attitudes towards the educational management of the ASEAN Community for school administrators, teachers, and educational personnel; developing school-based curriculum relating to the ASEAN Community; promoting and developing media and technology; and using school networking to facilitate the administration.
2. The administrators and teachers as classified by work experiences, field trip exposures to the ASEAN countries, and school sizes had different opinions towards the administrators’ roles in promoting the operation of school development strategies for the ASEAN Community with a statistical significance at .05. However, there was no difference among those differed in educational level.
3. Guidelines for developing the administrators’ roles in promoting the operation of school development strategies for the ASEAN Community were as follows: promoting and enhancing English language ability for teachers and students, providing field trip opportunities, and promoting and developing innovative ASEAN studies.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/6.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%208%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%201%20%288.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%204%29.pdf