ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Titleข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2564
Authorsบรรจบ ภิรมย์คำ, Bunjob P, สุมิตร สุวรรณ, SUMIT SUWAN, ธีรศักดิ์ สร้อยคีรี, Theerasak S, กุลธิดา นุกูลธรรม, Kultida N, จรูญศรี มาดิลกโกวิท, Charoonsri M, พิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW, สุธารัตน์ ชาวนาฟาง, Sutarat C, วิไลลักษณา สร้อยคีรี, Wilailaksana S
Volume12
Start Page1
Issue1
Keywordsautonomous university, policy recommendation, ข้อเสนอเชิงนโยบาย, มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 617 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์และการประชุมสัมมนาผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากร จำนวน 49 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ การเผยแพร่ผลการดำเนินงานของสถาบันสู่ประชาคมสาธารณะ และมีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล การปฏิบัติงานควบคู่กับการใช้งบประมาณ ในขณะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดในเรื่องการพิจารณาให้พ้นจากงานอย่างเป็นธรรม รองลงมา ได้แก่ การเลื่อนค่าจ้างเงินเดือนที่เป็นธรรมระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่สร้างประสิทธิภาพในการทำงาน และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ข้อเสนอเชิงนโยบาย ครอบคลุม 1) มหาวิทยาลัยควรพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยเป็นไปตามความต้องการของสังคม และเหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย 2) การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย ควรมีบุคลากรประเภทเดียว คือ พนักงานมหาวิทยาลัย 3) มีการแสวงหางบประมาณจากภาคเอกชนและศิษย์เก่า 4) ลดขั้นตอนในการทำงานให้รวดเร็วมากขึ้นและมีความคล่องตัวทั้งระบบเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
5) มหาวิทยาลัยที่จะเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ควรมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน และสอดคล้องเหมาะกับบริบทของตนเอง 6) มหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ควรร่วมกันคิดกลไกที่ดีในการได้มาซึ่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย 7) ควรแก้ไขกฎหมายหรือออกกฎหมายใหม่ให้มีความชัดเจนว่า มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นหน่วยงานของรัฐและพนักงานมหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the management of the autonomous universities; 2) propose the policy recommendations for the management of the autonomous universities. Mixed-method research was used in this research. For quantitative data, the sample was 617 personnel from Chulalongkorn University, Mahidol University, and Chiang Mai University, derived by accidental sampling. The research instrument was a questionnaire with Item Objective Congruence Index between 0.67-1.00 and validity of 0.98. The data was analyzed with mean and standard deviation. The qualitative research was conducted through the interview and seminar of 49 administrators, lecturers, and staffs of autonomous universities, derived by purposive selection. The data was analyzed using content analysis. The research results revealed that:
1. The management of autonomous universities in the aspect of education quality development toward academic excellence had the highest average, followed by publication of institutional performance, and system application to monitor, inspect, and evaluate work operation along with budget spending. However, the aspect with the lowest average was consideration for fair termination of employment, followed by fair salary raising, performance appraisal to promote work efficiency, and work process reduction to increase work efficiency.
2. The policy recommendations includes: 1) the university should develop curricula based on the needs of society and the university contexts; 2) for personnel management university staff should be only type of employment status; 3) budget should be sought from alumni and private sectors; 4) work process should be reduced to promote fast and flexible system for academic excellence; 5) universities considering changing to be autonomous universities should be well-prepared in all aspects and suitable to the university contexts; 6) the Office of the Higher Education Commission and universities should devise a good mechanism to select members of the university council; and 7) regulations should be revised or newly written to indicate that autonomous universities are public entities and university staff are public officials.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/12.1jssr1%282%29.pdf
File attachments: